Page 50 - kpi12821
P. 50

แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง




                   เป็นอำนาจของประธานาธิบดี กระทำในรูปรัฐกฤษฎีกา (Décret) ที่ต้องได้รับความเห็นชอบ
                   จากคณะรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยกลุ่มกองกำลังและทหารอาสาสมัคร (Loi du 10
                   janvier 1936 sur les groupes de combat et milices privées) ซึ่งตกอยู่ภายใต้เขต
                   อำนาจของสภาแห่งรัฐหรือศาลปกครองสูงสุด (Conseil d’Etat) ในการควบคุมตรวจสอบ
                   ความชอบด้วยกฎหมายของรัฐกฤษฎีกา นอกจากนี้ ศาลชั้นต้น (le tribunal de grande
                   instance) ยังอาจสั่งยุบพรรคการเมืองที่มีสถานะเป็นสมาคม โดยใช้กฎหมายสมาคม (Loi du
                   1  juillet 1901 relative au contrat d’association) ได้อีกด้วย 17
                    er
                        3.   อินโดนีเซียมีกฎหมายพรรคการเมืองและบทบัญญัติเกี่ยวกับการยุบพรรค
                   การเมืองโดยเฉพาะได้แก่ Political Party Act No. 31/2002 และConstitutional Court
                   Act No. 24/2003 แต่ตราบจนกระทั่งปี ค.ศ. 2008 ยังไม่เคยมีคดียุบพรรคการเมืองขึ้นสู่การ
                   พิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญเลยแม้แต่คดีเดียว 18
                        4.   โดยหลัก กิจการต่างๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมืองในสหรัฐอเมริกาจะ
                   เป็นไปตามกฎหมายระดับมลรัฐ ยกเว้น กฎหมายการหาเสียงเลือกตั้งแห่งสหรัฐ (Federal
                   Election Campaign Act of 1971 (FECA)) และกฎหมายปฏิรูปการหาเสียงเลือกตั้งสองฝ่าย
                   (Bipartisan Campaign Reform Act of 2002 (BCRA) ซึ่งมักเรียกกันว่า McCain–
                   Feingold Act) ใช้บังคับกับการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี ส.ส. และ ส.ว. ในรัฐสภาสหรัฐ
                   (Congress) ส่วนการยุบพรรคการเมืองนั้น มีทั้งกฎหมายเฉพาะคือ The Subversive
         1         Activities Control Act of 1950,The Internal Security Act of 1950 และ The
                   Communist Control Act of 1954 ใช้สำหรับการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์โดยเฉพาะ และ
                   กฎหมายทั่วไป ได้แก่ The Alien Registration Act of 1940 หรือ Smith Act ซึ่งใช้กับ
                   บุคคลทั่วไป สมาคม ตลอดจนพรรคการเมืองที่พยายามล้มล้างหรือบั่นทอนเสถียรภาพของรัฐ
                   ทั้งนี้ โดยการฟ้องเป็นคดีอาญาต่อศาลชั้นต้นแห่งสหรัฐ (Federal District Court) ซึ่งก็อาจมี
                   การอุทธรณ์ฎีกาต่อไปตามลำดับชั้นศาลได้  19






                      17   Gregory H. Fox, and Georg Nolte, เรื่องเดิม, น. 27 – 29; Peter L. Lindseth, “Law, History,
                   and Memory: “Republican Moments” and the Legitimacy of Constitutional Review in France,”
                   Columbia Journal of European Law, (Vol. 3, Fall/Winter, 1996/97) น. 59 – 71.
                      18    Andy Omara, Lessons From The Korean Constitutional Court: What Can Indonesia
                   Learn From the Korean Constitutional Court Experience?, (Seoul: Korean Legislation
                   Research Institute, 2008), น. 50.
                      19    Samuel Issacharoff, “Fragile Democracies,” Harvard Law Review, Vol. 120 No. 6 (April
                   2007), น. 1415 – 1421 ซึ่งอธิบายลักษณะเฉพาะของสังคมการเมืองอเมริกันอันเป็นสาเหตุให้ระบบกฎหมาย
                   อเมริกันกำหนดให้มีมาตรการทางอาญาแต่เพียงอย่างเดียว; Paul Franz, “Unconstitutional and Outlawed
                   Political Parties: A German – American Comparison,” Boston College International and
                   Comparative Law Review, Vol. 5 No. 1 (1982), น.75 – 77.
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55