Page 53 - kpi12821
P. 53
ณรงค์เดช สรุโฆษิต
1. ภาพรวมของการสิ้นสุดลงของพรรคการเมืองไทย
นับแต่ประเทศไทยมีกฎหมายพรรคการเมืองฉบับแรกคือ พระราชบัญญัติ
พรรคการเมือง พ.ศ. 2498 จวบจนปัจจุบัน นักการเมืองและบุคคลในระบบการเมือง
ไทยได้ยึดถือประพฤติปฏิบัติสืบต่อเนื่องกันมาจนเกิดการยอมรับร่วมกันแล้วว่า
พรรคการเมืองไทยเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยกฎหมาย (Legal Creature) มิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นโดย
1
ธรรมชาติ (Natural Creature) กล่าวคือ การรวมกลุ่มของบุคคลที่ประสงค์จะดำเนิน
กิจกรรมในฐานะพรรคการเมืองต้องจดทะเบียนหรือจดแจ้งการจัดตั้งตามกฎหมาย
พรรคการเมืองก่อน จึงจะดำเนินการได้ แม้ในห้วงเวลาที่ไม่มีบทกฎหมายบังคับ
2
อันได้แก่ ช่วงเวลาสั้นๆ ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2521 ซึ่งรับรองเสรีภาพ
ของบุคคลในการจัดตั้งพรรคการเมือง และขณะนั้นก็ไม่มีกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมือง
กำหนดขั้นตอนหรือกระบวนการจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองไว้ แต่บรรดานัก
การเมืองทั้งหลายที่รวมกลุ่มกันส่งผู้สมัครเข้าแข่งขันในการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไป
3
ในเวลานั้น กลับมิได้เรียกตัวเองว่า “พรรค” แต่เลี่ยงไปใช้คำว่า “กลุ่ม” แทน ทั้งนี้
ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 อันเป็น
กฎหมายที่ใช้บังคับ ณ ปัจจุบัน เมื่อนายทะเบียนพรรคการเมืองได้รับจดแจ้งการจัดตั้ง 1
พรรคการเมืองแล้ว นับแต่ขณะเวลาดังกล่าวเป็นต้นไป การรวมกลุ่มของบุคคลที่ยื่น
จดแจ้งจัดตั้งพรรคการเมือง จะมีสถานะเป็นนิติบุคคล “พรรคการเมือง” มีสิทธิ หน้าที่
และความรับผิดแยกต่างหากจากบุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นผู้จัดตั้งหรือเป็นสมาชิกพรรค
4
การเมืองนั้นๆ ไปตลอด จนกว่าความเป็นพรรคการเมืองจะสิ้นสุดลง
1 กนก วงศ์ตระหง่าน, พรรคการเมืองไทย, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536),
น. 40-41; แต่ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร. กนก วงศ์ตระหง่าน เห็นว่า คติที่ว่าพรรคการเมืองไทยเป็นพรรคตาม
กฎหมายเกิดขึ้นนับแต่การรัฐประหาร พ.ศ. 2494 อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ใช้รัฐธรรมนูญ 2489 และรัฐธรรมนูญ
2492 จนถึงการรัฐประหารดังกล่าว มีแนวคิดพรรคการเมืองเป็นสิทธิตามธรรมชาติสอดแทรกอยู่ โปรดดู น. 87
– 92.
2 ผู้ฝ่าฝืนดำเนินการในฐานะพรรคการเมืองโดยไม่จดทะเบียนหรือจดแจ้งการจัดตั้งย่อมมีความผิดอาญา
โปรดดู พรบ. พรรคการเมือง 2511, ม. 47, ฉบับ 2517, ม. 54, ฉบับ 2524, ม. 66, พ.ร.ป. พรรคการเมือง
2541, ม. 75, และ ฉบับ 2550, ม. 110 วรรคสอง.
3 กนก วงศ์ตระหง่าน, เรื่องเดิม, น. 40.
4 พรบ. พรรคการเมือง 2511, ม. 14; ฉบับ 2517, ม. 19; ฉบับ 2524, ม. 30; พ.ร.ป. พรรคการเมือง
2541, ม. 19; ฉบับ 2550 ม. 16 วรรคสอง; ในขณะที่มาตรา 12 ของพรบ. พรรคการเมือง 2598 มิได้บัญญัติชัด
ว่าให้พรรคการเมืองเป็นนิติบุคคล เพียงแต่ระบุว่าอาจเป็นโจทก์ จำเลย หรือดำเนินคดีในศาลได้.