Page 55 - kpi12821
P. 55
ณรงค์เดช สรุโฆษิต
รวมพรรคการเมืองซึ่งที่ประชุมใหญ่พรรคการเมืองตั้งแต่สองพรรคขึ้นไปลงมติเห็นชอบ
ให้ดำเนินการดังกล่าวได้ ถือว่าเป็นการเลิกพรรคการเมืองโดยสมัครใจ (Voluntary
Dissolution of Political Party) มิได้เกิดจากการใช้อำนาจรัฐเข้าแทรกแซงจำกัด
เสรีภาพของบุคคลในการจัดตั้งพรรคการเมืองและดำเนินกิจกรรมทางการเมือง
ซึ่งไม่อยู่ในขอบเขตการศึกษาของงานวิจัยฉบับนี้ จึงขออธิบายลักษณะที่ (2) ไว้คร่าวๆ
เพียงเท่านี้
2. การสิ้นสภาพพรรคการเมือง
พรรคการเมืองย่อมสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมืองไปตามความในมาตรา 91
ของกฎหมายพรรคการเมือง ในกรณีที่ (1) ไม่สามารถดำเนินการจัดหาสมาชิกให้ได้ไม่
น้อยกว่า 5,000 คน กระจายไปในทุกภาค และจัดตั้งสาขาพรรคในทุกภาค (4 ภาค
4 สาขา) ภายในเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง
(2) ไม่ส่งสมาชิกพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้ง
ทั่วไปสองครั้งติดต่อกัน หรือเป็นเวลาแปดปีติดต่อกัน สุดแต่ระยะเวลาใดจะยาวกว่ากัน
(3) มีจำนวนสมาชิกพรรคเหลือไม่ถึงห้าพันคน เป็นระยะเวลาติดต่อกันหนึ่งปี หรือ
(4) ไม่มีการเรียกประชุมใหญ่พรรคการเมือง หรือไม่มีการดำเนินกิจกรรมใดทางการเมือง
เป็นระยะเวลาติดต่อกันหนึ่งปี โดยไม่มีเหตุอันสมควรอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย
เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียนหรือเมื่อมีผู้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนให้นายทะเบียน
ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง ถ้าเห็นว่ามีเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นกับพรรคการเมืองใดจริง
นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งก็จะประกาศในราชกิจจา
นุเบกษาว่าพรรคการเมืองนั้นสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง แต่ทั้งนี้ หากพรรค
การเมืองที่ถูกประกาศว่าสิ้นสภาพไปนั้น เห็นว่าการประกาศดังกล่าวไม่เป็นไปตาม
กฎหมาย หัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น อาจยื่นคำร้อง
ต่อศาลรัฐธรรมนูญให้มีคำสั่งเลิกการประกาศดังกล่าวได้ อย่างไรก็ดี หลักเกณฑ์การสิ้น
สภาพพรรคการเมืองที่ว่านี้จะไม่นำใช้บังคับ หากพรรคการเมืองนั้นมีสมาชิกเป็นสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรอยู่ ณ ขณะเวลาที่มีเหตุแห่งการสิ้นสภาพ