Page 54 - kpi12821
P. 54
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
5
หากมองย้อนไปในอดีต จะพบว่า การสิ้นสุดลงของพรรคการเมืองไทย นั้น เกิด
ขึ้นจากสาเหตุหลักสองประการ ได้แก่ (1) การสิ้นสุดลงโดยกฎหมายพรรคการเมือง คือ
พรรคการเมืองต้องเลิกไปด้วยเหตุที่ระบุไว้ในกฎหมายพรรคการเมืองฉบับต่างๆ เช่น
ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนหรือสั่งยุบเลิกพรรคการเมืองเพราะกระทำผิดกฎหมาย
ร้ายแรง มีจำนวนสมาชิกลดลงเหลือน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด หรือไม่ส่งสมาชิกลงสมัคร
6
ส.ส. ให้ครบตามจำนวนขั้นต่ำ ฯลฯ และ (2) การสิ้นสุดลงโดยประกาศคณะรัฐประหาร
กล่าวคือ เมื่อมีการรัฐประหาร คณะรัฐประหารมักจะยุบเลิกพรรคการเมือง เพราะเห็น
ว่า พรรคการเมืองนั้นเป็นที่รวมของนักการเมือง ซึ่งโดยสภาพย่อมเป็นคู่ขัดแย้งกับคณะ
รัฐประหาร โดยการออกประกาศคณะรัฐประหารยกเลิกกฎหมายพรรคการเมืองและ
7
ระบุให้พรรคการเมืองต่างๆ ที่มีอยู่เป็นอันสิ้นสุดลง ยกเว้นการรัฐประหารสองครั้ง
หลังสุด คือ เมื่อปี 2534 และ 2549 มิได้มีการยุบเลิกพรรคการเมือง เพียงแต่ห้าม
พรรคการเมืองมิให้ประชุมหรือดำเนินกิจกรรมใดๆ ทางการเมือง และระงับมิให้มีการ
จัดตั้งหรือจดทะเบียนพรรคการเมือง 8
อนึ่ง ตามกฎหมายพรรคการเมืองฉบับปัจจุบัน การสิ้นสุดลงของพรรคการเมือง
นั้นจำแนกได้เป็น 3 ลักษณะใหญ่ๆ อันได้แก่ (1) การสิ้นสภาพพรรคการเมือง (2) การ
เลิกพรรคการเมือง และ (3) การยุบพรรคการเมือง แต่ทั้งนี้ เนื่องจากการสิ้นสุดลงของ
พรรคการเมืองตาม (2) นั้นเป็นกรณีที่สมาชิกพรรคการเมืองตกลงร่วมกันกำหนดเหตุ
แห่งการเลิกพรรคการเมืองไว้เป็นการล่วงหน้าในข้อบังคับพรรค หรือเป็นกรณีการควบ
5 ศาสตราจารย์ ดร. กนก วงศ์ตระหง่าน จำแนกการสิ้นสุดของพรรคการเมืองในทางรัฐศาสตร์ ออก
เป็นการสิ้นสุดโดยการยึดอำนาจ และการสิ้นสุดโดยปัจจัยภายในพรรคการเมือง ดังกรณีต่อไปนี้ (1) เมื่อเปลี่ยน
ตัวผู้นำพรรค (2) เมื่อเปลี่ยนอุดมการณ์ของพรรค และ (3) เมื่อผลประโยชน์ร่วมกันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โปรด
ดู กนก วงศ์ตระหง่าน, เรื่องเดิม, น. 100 – 108.
6 พรบ. พรรคการเมือง 2498, ม. 13; ฉบับ 2511, ม. 29 – 31; ฉบับ 2517, ม. 34 – 36; ฉบับ 2524, ม.
46 – 48; พ.ร.ป. พรรคการเมือง 2541, ม. 65 – 67; ฉบับ 2550 ม. 91, ม. 93 – 98; ตัวอย่างเช่น พรรคเสรี
ประชาธิปไตย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5017/2540) พรรคดำรงไทย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4911/2539) และ
พรรคเสรีนิยม พรรคชาวไทยพรรคเสรีประชาธิปไตย พรรคประชาชาติพรรคชาติประชาชนและพรรค
ประชาธิปไตย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3671/2535– พรรคเหล่านี้ถูกยุบไปพร้อมกันในคำพิพากษาฉบับเดียวกัน)
7 ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8 ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2501, ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 9 ลงวันที่ 19
พฤศจิกายน 2514, คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 6 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2519.
8 ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 20 เรื่อง พระราชบัญญัติ พรรคการเมือง
ห้ามพรรคการเมืองประชุมหรือดำเนินกิจกรรมอื่นใดทางการเมือง ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534, และประกาศ
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 15 เรื่อง
ห้ามพรรคการเมืองประชุมหรือดำเนินกิจการอื่นใดทางการเมือง ลงวันที่ 21 กันยายน 2549, ข้อ 2.