Page 56 - kpi12821
P. 56
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
3. การยุบพรรคการเมือง
การยุบพรรคการเมืองนั้นแบ่งออกเป็นสองกรณีคือ กรณีทั่วไป และกรณีกระทำ
ผิดร้ายแรง ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องเหตุ กระบวนการ และผลบางอย่างจากการ
ยุบพรรคการเมือง 9
3.1 การยุบพรรคการเมืองกรณีทั่วไปตามมาตรา 93
การยุบพรรคการเมืองในกรณีทั่วไปจะเกิดขึ้นด้วยเหตุสองข้อ ได้แก่
(ก) พรรคการเมืองมีเหตุต้องเลิกตามข้อบังคับพรรคการเมืองแต่พรรคการเมืองนั้นยังคง
มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ ซึ่งในกรณีเช่นนี้ หากปล่อยให้มีการเลิก
พรรคการเมืองไปตามกระบวนการปกติ ส.ส. ที่สังกัดพรรคการเมืองนั้นจะสิ้นสมาชิก
ภาพไป โดยไม่อาจเข้าสังกัดพรรคการเมืองอื่นเพื่อรักษาสมาชิกภาพ ส.ส. ต่อไปได้
10
ดังนั้น กฎหมายพรรคการเมืองจึงนำโยงมาให้ใช้กระบวนการยุบพรรคการเมืองแทน
ทั้งนี้ หากพิจารณาโดยเนื้อหาของเรื่องแล้ว เห็นได้ว่า มิใช่การใช้อำนาจรัฐทำให้ความ
เป็นพรรคการเมืองสิ้นสุดลง แต่เป็นการสิ้นสุดลงโดยความสมัครใจของสมาชิก
พรรคการเมืองนั้นที่ได้แสดงเจตนาในการเลิกพรรคไว้ล่วงหน้าในข้อบังคับของพรรค
จึงไม่อยู่ในขอบข่ายเนื้อหางานวิจัยฉบับนี้ และ (ข) เมื่อพรรคการเมืองไม่ดำเนินการให้
ถูกต้องตามกฎหมายอันได้แก่ (ข.1) การไม่ยื่นรายงานการดำเนินกิจการของ
พรรคการเมืองภายในกำหนดเวลาโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ตามมาตรา 42 วรรคสอง
และ (ข.2) การไม่ยื่นรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมือง หรือยื่น
รายงานที่ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง หรือใช้จ่ายเงินที่ได้รับสนับสนุนจากกองทุนเพื่อ
การพัฒนาพรรคการเมืองโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ตามมาตรา 82
เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียนว่าพรรคการเมืองใดมีเหตุตามข้อ (ก) หรือ (ข)
ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาล
9 นอกจากนี้ ยังอาจจำแนกการยุบพรรคการเมืองตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องออกได้เป็น (1) การยุบพรรค
ตามเหตุที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และ (2) เหตุที่บัญญัติไว้ในกฏหมายเลือกตั้ง (3) เหตุที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
พรรคการเมือง ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่า กฎหมายพรรคการเมืองได้นำเหตุยุบพรรคตาม (1) และ (2) มาบัญญัติรวมไว้ด้วย
แล้ว จึงมิได้แบ่งหมวดหมู่ตามนั้น
10 เนื่องจากรัฐธรรมนูญ มาตรา 106 (8) ซึ่งกำหนดเกี่ยวกับการสิ้นสมาชิกภาพ ส.ส. ในกรณีที่ขาดจากการ
เป็นสมาชิกของพรรคการเมือง เปิดช่องให้ ส.ส. ผู้นั้นสามารถดำรงสถานะ ส.ส. ต่อไปได้ หากเป็นกรณีที่ศาล
รัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองที่ผู้นั้นสังกัดและ ส.ส. ผู้นั้นสามารถเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมืองอื่นได้
ภายใน 60 วัน กรณีเช่นนี้ จริงๆ แล้วเป็นเพียงเทคนิคการบัญญัติกฎหมายโดยใช้คำว่า “ยุบพรรคการเมือง” เพื่อ
ให้ล้อความตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น โปรดดู รายงานการประชุมคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. .... สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2550.