Page 61 - kpi12821
P. 61

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                    4.  ความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง

                      การสิ้นสภาพและการยุบพรรคการเมือง



                          การสิ้นสภาพพรรคการเมืองและการยุบพรรคการเมืองนั้นเหมือนกันตรงที่ต่างก็
                    เป็นการใช้อำนาจรัฐทำให้ความเป็นนิติบุคคล “พรรคการเมือง” สิ้นสุดลง โดยที่สมาชิก
                    พรรคการเมืองนั้นมิได้ “สมัครใจ” เหมือนกัน และผลที่ตามมาก็คือ ต้องมีการชำระ

                    บัญชีพรรคการเมือง โดยในระหว่างเวลาดังกล่าว หัวหน้าและกรรมการบริหารพรรคยัง
                    คงต้องปฏิบัติหน้าที่อยู่ต่อไปจนกว่าจะมีการชำระบัญชีแล้วเสร็จ แต่ไม่อาจดำเนิน
                    กิจกรรมใด ๆ ทางการเมืองในนามของพรรคการเมืองนั้นได้ จากนั้น หากปรากฏว่า
                    มีทรัพย์สินเหลืออยู่เท่าใด ให้โอนทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่องค์กรสาธารณกุศลตามที่ระบุ
                    ไว้ในข้อบังคับพรรคการเมือง ถ้าในข้อบังคับพรรคมิได้ระบุไว้ หรือหากข้อบังคับพรรค

                    ระบุ “ชื่อ” องค์กรสาธารณกุศลใดไว้ แต่องค์กรนั้นไม่มีอยู่อีกต่อไปแล้ว ณ ขณะเวลา
                    นั้น ก็ให้นำทรัพย์สินที่เหลือนั้นเข้าเป็นของกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง
                       17

                          ส่วนความแตกต่างระหว่างการสิ้นสภาพพรรคการเมืองและการยุบพรรค
                    การเมืองนั้นมีอยู่หลายประการ อันได้แก่


                          ประการแรก การสิ้นสภาพพรรคการเมืองเป็นกรณีที่พรรคการเมืองไม่สามารถ
                    ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในการดำรงสถานะพรรคการเมืองได้ ซึ่งโดยหลัก มักจะเป็นเรื่องที่
                    สอดคล้องกับการสิ้นสุดลงตามธรรมชาติของการรวมกลุ่ม เช่น เมื่อไม่มีสมาชิก
                    พรรคการเมืองคนใดใส่ใจติดตามการดำเนินการของพรรคการเมืองอีกต่อไป ปล่อยให้

                    หัวหน้าและกรรมการบริหารพรรคละเลยหน้าที่ไม่เรียกประชุมใหญ่หรือไม่ดำเนิน
                    กิจกรรมใดๆ ทางการเมืองตลอดระยะเวลา 1 ปีติดต่อกัน หรือพรรคการเมืองไม่ทำ
                    หน้าที่ตามระบอบประชาธิปไตยของพรรคการเมืองคือ การเข้าสู่กลไกการใช้อำนาจรัฐ
                    ผ่านการเลือกตั้งเป็นระยะเวลาที่ยาวนานจนกระทั่งเห็นได้ชัดว่า ละทิ้งเจตนารมณ์

                    ดั้งเดิมในการก่อตั้งพรรคการเมืองแล้ว ในขณะที่การยุบพรรคการเมืองนั้นเป็นกรณีที่
                    พรรคการเมือง หัวหน้าหรือกรรมการบริหาร หรือสมาชิกทั่วไปของพรรคการเมือง
                    ไม่ดำเนินการตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเฉพาะเจาะจง หรือที่รุนแรงกว่านั้น
                    คือ ได้กระทำความผิดร้ายแรง จนเป็นเหตุให้รัฐต้องใช้อำนาจยุบพรรคการเมือง


                          ประการที่สอง ในเรื่องกระบวนการ การสิ้นสภาพพรรคการเมืองเป็นอำนาจของ
                    นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่จะประกาศให้

                       17   โปรดดู พ.ร.ป. พรรคการเมือง 2550, ม. 96; แต่ทั้งนี้เป็นการตีความของผู้วิจัย มิใช่เนื้อความในมาตรา
                    96 วรรคสาม
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66