Page 62 - kpi12821
P. 62
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
พรรคการเมืองสิ้นสภาพ กล่าวอีกนัยหนึ่ง อำนาจวินิจฉัยอยู่ที่นายทะเบียนและ กกต.
ในขณะที่การยุบพรรคการเมืองนั้น นายทะเบียนและ กกต. มีเพียงอำนาจริเริ่ม
กระบวนการเท่านั้น ในกรณีที่พรรคการเมืองไม่ดำเนินการตามกฎหมายทั้งในส่วน
รายงานกิจการพรรคการเมืองและในส่วนรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนพรรค
การเมือง นายทะเบียนและ กกต. สามารถนำคำร้องไปสู่ศาลรัฐธรรมนูญได้โดยลำพัง
แต่สำหรับกรณีที่จะยุบพรรคการเมืองเพราะกระทำความผิดตามมาตรา 94 จะมีอัยการ
สูงสุดเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการริเริ่มนี้ด้วย ทั้งนี้ แม้ว่าที่สุดแล้ว อำนาจสิทธิขาด
จะตกอยู่ที่นายทะเบียนและ กกต. ก็ตาม และที่สำคัญ การวินิจฉัยสั่งยุบพรรคการเมือง
เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น
ประการที่สาม การสิ้นสภาพพรรคการเมืองมิได้ส่งผลให้หัวหน้าพรรคหรือ
กรรมการบริหารพรรคถูกตัดสิทธิและเสรีภาพทางการเมือง ในขณะที่หัวหน้าและ
กรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบไปนั้น อย่างน้อยที่สุด ก็ถูกจำกัดเสรีภาพมิให้
เป็นกรรมการบริหารพรรคใหม่หรือจดแจ้งจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่เป็นเวลา 5 ปี หรือ
กรณีการยุบพรรคเพราะกระทำผิดตามมาตรา 94 หรือไม่ดำเนินการเกี่ยวกับรายงาน
การใช้จ่ายเงินสนับสนุนพรรคการเมืองให้ถูกต้องตามมาตรา 82 จะส่งผลให้ถูกเพิกถอน
0
สิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปีด้วย
ประการสุดท้าย อาจมีการจดแจ้งจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่โดยใช้ชื่อพรรค
การเมืองที่เคยถูกประกาศให้สิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมืองไปแล้วได้ ต่างจากชื่อ
ชื่อย่อ หรือภาพเครื่องหมายของพรรคการเมืองที่ถูกยุบไปนั้น ไม่สามารถนำมาใช้อีกได้
ตลอดไป 18
5. สถิติการยุบพรรคการเมือง
จากประสบการณ์การยุบพรรคการเมืองนับแต่มีพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 สืบต่อมาถึงพระราชบัญญัติประกอบ
19
รัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 จวบจนปัจจุบัน มีพรรคการเมืองที่ถูกยุบ
18 โปรดดู หน้า 28 และเชิงอรรถที่ 16 ข้างต้น
19 พ.ร.ป. พรรคการเมือง 2541 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 35 ก
หน้า 1 วันที่ 9 มิถุนายน 2541 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2541