Page 224 - kpi12821
P. 224
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
อนึ่ง การสิ้นสภาพตามมาตรา 91 (1) และ (3) แตกต่างกันในแง่ที่ว่า
มาตรา 91 (1) เป็นเงื่อนไขยืนยันการดำรงอยู่ของพรรคการเมืองหลังจากที่ได้มีการจัด
ตั้งพรรคขึ้นด้วยการหาสมาชิกและจัดตั้งสาขาพรรค เมื่อพรรคการเมืองปฏิบัติครบถ้วน
ตามเงื่อนไขใน (1) ภายในกำหนดเวลา 1 ปีแล้ว การจัดตั้งพรรคการเมืองดังกล่าวก็เป็น
อันสมบูรณ์ แม้ต่อมาพรรคการเมืองจะมีสมาชิกลดลงเหลือต่ำกว่า 5,000 คน มีสาขา
พรรคลดลงเหลือน้อยกว่า 4 สาขา หรือมีสาขาไม่ครบทั้ง 4 ภาค ก็ไม่อาจถือเป็นเหตุให้
พรรคการเมืองนั้นสิ้นสภาพตาม (1) ได้อีกต่อไป เว้นแต่ จะเข้ากรณีตาม (3) คือ
มีจำนวนสมาชิกไม่ถึง 5,000 คนตลอดระยะเวลา 1 ปีติดต่อกัน
2.3 ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์จำนวนขั้นต่ำของ
สมาชิกและสาขาพรรค
ปัญหาข้อหนึ่งที่มีการถกเถียงกันมาก ตั้งแต่เมื่อคราวจัดทำยกร่างกฎหมาย
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ฉบับ 2541 สืบเนื่องมาจนถึงการพิจารณา
42
ร่างกฎหมายฉบับ 2550 ก็คือ การกำหนดให้พรรคการเมืองต้องสิ้นสภาพความเป็น
43
พรรคการเมืองไป (หรือถูกยุบไป ตามกฎหมาย 2541) เพราะเหตุที่พรรคการเมือง
1 ไม่สามารถหาสมาชิกให้ได้ครบ 5,000 คน และจัดตั้งสาขาพรรคทุกภาค 4 ภาค 4
สาขา ภายในกำหนดเวลา 1 ปี (หรือ 180 วันตามกฎหมาย 2541) นั้นชอบด้วย
รัฐธรรมนูญหรือไม่
2.3.1 เหตุผลคัดค้าน: ขัดต่อเจตนารมณ์ที่ต้องการให้พรรคการเมือง
จัดตั้งได้ง่าย
ในด้านหนึ่ง เห็นว่า ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เนื่องจาก รัฐธรรมนูญ 2550
ซึ่งมีบทบัญญัติมาตรา 65 รับรองเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองเช่นเดียวกับมาตรา
47 ของรัฐธรรมนูญ 2540 ต่างก็มีมีเจตนารมณ์เหมือนกัน กล่าวคือ ต้องการให้
ประชาชนสามารถจัดตั้งพรรคการเมืองได้โดยง่าย โดยบุคคลเพียง 15 คนก็สามารถ
44
42 ผู้สนใจประเด็นที่มีการอภิปรายในการพิจารณาร่างกฎหมายฉบับ พ.ศ. 2541 โปรดดู วัลลียา ไชยศิริ,
เสรีภาพในการจัดตั้งและการดำเนินกิจการของพรรคการเมือง, วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, คณะ
นิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2547, น. 133 – 137.
43 รายงานการประชุมคณะอนุกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
พรรคการเมือง พ.ศ. .... สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่... เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2550
44 เทียบมาตรา 65 รัฐธรรมนูญ 2550 กับมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญ 2540 และโปรดดู รัฐธรรมนูญ พ.ศ.
2540, ม. 328 (1); และ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, “ภาพรวมของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่,” ใน บุญเลิศ คชายุทธเดช
และประยงค์ คงเมือง บรรณาธิการ, รวมสาระรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน, (กรุงเทพฯ: มติชน, 2541), น. 66 –
67 ซึ่งอธิบายความตามรัฐธรรมนูญ 2540.