Page 225 - kpi12821
P. 225
ณรงค์เดช สรุโฆษิต
รวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองได้ ดังนั้น “การกำหนดเงื่อนไขว่าจะต้องมีสมาชิก 5,000
คนขึ้นไป กระจายตามภาคทุกภาคและมีสาขาพรรคอย่างน้อยภาคละหนึ่งสาขา
น่าจะทำให้เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้ตั้งพรรคการเมืองได้ง่ายหมดไป
45
เช่นกัน” เนื่องจาก แม้พรรคการเมืองจะจัดตั้งได้ง่าย แต่ก็ถูกทำให้สิ้นสภาพไปได้ง่าย
จึงเท่ากับเป็นการทำลายเสรีภาพในการดำรงอยู่ของพรรคการเมืองอันเป็นเสรีภาพโดย
ปริยายของเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมือง คล้ายคลึงกับคำวิจารณ์ของ
ศาสตราจารย์ ดร. อมร รักษาสัตย์ ในคำวินิจฉัยส่วนบุคคลในคดีหนึ่งว่า
“เมื่อคำนึงถึงว่าการตั้งพรรคการเมืองเป็นการแสดงความพยายามที่จะเข้า
มามีส่วนร่วมในการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองที่รัฐธรรมนูญของประเทศ
ประชาธิปไตยทุกประเทศสนับสนุน...และการตั้งพรรคการเมืองเป็นภาระที่ยุ่งยากแต่ก็
เป็นบทเรียนหรือส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญมากสำหรับระบอบ
ประชาธิปไตย รัฐบาลน่าจะต้องขอบใจที่มีประชาชนมาเสียสละทำกิจกรรมเช่นนี้มาก
กว่าจะคอยเข็มงวดกวดขันโดยการออกข้อกำหนดระเบียบกฎเกณฑ์และนำมาเป็น
ข้ออ้างที่จะยุบพรรคการเมือง” 46
นอกจากนั้น หากพิจารณาจากบริบททางการเมือง หลักเกณฑ์ในการดำรง 1
สถานะพรรคการเมืองข้อนี้ยังมีผลเป็นการปิดโอกาสของพรรคการเมืองขนาดเล็กที่จะ
เข้าสู่กระบวนการสร้างเจตจำนงทางการเมืองของประชาชน เพราะเป็นปกติธรรมดาที่
พรรคการเมืองซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่โดยบุคคลซึ่งไม่ใช่ผู้มีชื่อเสียงในสังคม ย่อมจะปรากฏเป็น
ข่าว มีผู้ได้ยินชื่อและรับทราบแนวทางของพรรคในจำนวนน้อย ประสบการณ์จากการ
ใช้บังคับหลักเกณฑ์ข้อนี้อย่างเคร่งครัดในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2541 ถึง พ.ศ. 2550 เป็น
เหตุให้พรรคการเมืองมากถึง 43 พรรคถูกยุบไป น่าจะเป็นเครื่องยืนยันถึงการปิดกั้น
การเข้าสู่ตลาดการเมืองของหลักเกณฑ์ข้อนี้ได้เป็นอย่างดี 47
45 สมคิด เลิศไพฑูรย์, กฎหมายรัฐธรรมนูญ หลักการใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548) น. 163; และโปรดดู รังสรรค์
ธนพรพันธุ์, เศรษฐศาสตร์รัฐธรรมนูญ เล่ม 3: บทวิเคราะห์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540,
(กรุงเทพฯ: มติชน, 2547) น. 32 – 33.
46 คำวินิจฉัยรายบุคคล ศาสตราจารย์ ดร. อมร รักษาสัตย์ – ศร.ที่ 10/2545 ลงวันที่ 12 มีนาคม 2545
[รจ. ล.119 ต.155ก (15 พฤศจิกายน 2545) น. 169 – 176] น. 175 ในคดีพรรคพลังไทยซึ่งถูกยุบพรรคตาม
กฎหมายเดิมเพราะมีสมาชิกไม่ครบ 5,000 คน.
47 โปรดดู ตารางที่ 2 สถิติการยุบพรรคการเมืองจำแนกตามสาเหตุ ในหน้า 33; ผู้สนใจเกี่ยวกับการ
วิเคราะห์สภาพ “ตลาดการเมืองไทย” ที่เป็นผลมาจากรัฐธรรมนูญ 2540 และจากสภาพข้อเท็จจริงอื่นๆ ในบริบท
ทางการเมืองไทยเช่น “ยี่ห้อ” ทางการเมือง การซื้อขายตัว ส.ส. “มุ้ง” ในพรรคการเมือง โปรดดูบทที่ 7 และบทที่
8 ในงานวิจัยของศาสตราจารย์ รังสรรค์ ธนพรพันธุ์, เรื่องเดิม, น. 25 – 108.