Page 151 - kpi12821
P. 151
ณรงค์เดช สรุโฆษิต
1.2 ระบบพรรคการเมือง 16
ปัจจุบัน สเปนถือได้ว่าเป็นประเทศที่อยู่ในระบบสองพรรคการเมือง (Two-
17
party system) หรือโดยมีพรรคแรงงานสังคมนิยมสเปน (Partido Socialista
Obrero Espanol – PSOE) และพรรคประชาชน (Partido Popular – PP) แข่งขัน
ผลัดเปลี่ยนกันเข้าบริหารประเทศ ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2008
18
ทั้งสองพรรคได้ ส.ส. จำนวน 169 และ 154 ที่นั่งตามลำดับ ส่งผลให้ José Luis
Rodr íguez Zapatero หัวหน้าพรรค PSOE ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นประธาน
19
รัฐบาล พรรคแนวร่วมและสหภาพ (Convergència i Unió) ได้ 10 ที่นั่ง พรรค
ชนชาติบาสก์ (Partido Nacionalista Vasco หรือ Euzko Alderdi Jeltzalea – ใน
ภาษาบาสก์) ได้ 6 ที่นั่ง ส่วนที่เหลืออีก 11 ที่นั่งกระจายไปในพรรคเล็กๆ 6 พรรค 20
16 ศาสตราจารย์ Maurice Duverger จำแนกระบบพรรคการเมืองตามจำนวนพรรคออกเป็น 3 ระบบ
อันได้แก่ (1) ระบบสองพรรค (Two –party System) คือ มีสองพรรคการเมืองแข่งขันผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาเป็น
รัฐบาล และแม้ว่าจะมีพรรคการเมืองอื่นๆ ลงแข่งขันเลือกตั้งด้วย แต่ก็มีความสำคัญน้อยมาก เช่น สหรัฐอเมริกา
อังกฤษ จาไมก้า (2) ระบบหลายพรรค (Multi-partism) คือ มีหลายพรรคการเมืองประกอบกันขึ้นเป็นรัฐบาล
เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี ออสเตรเลีย ไทย และ (3) ระบบพรรคเดียว (Single Party) คือ มีพรรคการเมืองเดียว
เท่านั้นที่เป็นรัฐบาลและส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งได้ เช่น จีน เกาหลีเหนือ เวียดนาม คิวบา โปรดดู Maurice 11
Duverger, translated by Barbara and Robert North, Political Parties: Their Organization and
Activity in the Modern State, (London: Methuen &Co.Ltd., 3rd edition, 1967) น. 206–280.
ในขณะที่ศาสตราจารย์ Giovanni Sartori จัดกลุ่มพรรคการเมืองในโลกออกเป็นระบบพรรคการเมืองที่มีการ
แข่งขันและที่ไม่มีการแข่งขัน (Competitive and Non-competitive System) และในระบบที่มีการแข่งขัน
จำแนกย่อยได้เป็น ระบบพรรคเดียวเป็นหลัก (One-party Dominant System) ระบบสองพรรค (Two-party
System) ระบบหลายพรรคสายกลาง (Moderate Multi-party System) และระบบหลายพรรคสองขั้วการเมือง
(Bipolarized Multi-party System) โปรดดู Giovanni Sartori, Parties and Party System: A
Framework for Analysis, (Cambridge: Cambridge University Press, 1976), น. 35–45.
17 หรือระบบสองพรรคบวก (Two-party-plus System) โปรดดู Richard Gunther and José Ramón
Montero, The Politics of Spain, (Cambridge: Cambridge University Press, 2009), น. 116-121.
18 http://narros.congreso.es/constitucion/elecciones/generales/2008.htm
19 http://www.la-moncloa.es/Presidente/Biografia/default.htm อนึ่ง ตามธรรมเนียมปฏิบัติ
ทางการเมืองสเปน หัวหน้าพรรคการเมืองชั้นนำสองพรรค จะลงสมัครเลือกตั้ง ส.ส. โดยปรากฏชื่อเป็นลำดับแรก
ในบัญชีรายชื่อผู้สมัคร ส.ส. ประจำเขตกรุงแมดดริด ประหนึ่งว่าเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานรัฐบาล/นายก
รัฐมนตรี ผู้สนใจ โปรดดู Michael T. Newton and Peter J. Donaghy, เรื่องเดิม, น. 74–75.
20 ระบบเลือกตั้งของสเปนยินยอมให้พรรคการเมืองต่างๆ เข้าร่วมกันเป็นแนวร่วมในการเลือกตั้งและ
นำคะแนนที่แต่ละพรรคได้รับมาคำนวณรวมกัน มิเช่นนั้น พรรคเล็กๆ เหล่านี้อาจไม่มีที่นั่ง ส.ส. ในสภาซึ่งใช้ระบบ
เลือกตั้งบัญชีรายชื่อแบบสัดส่วนเพียงอย่างเดียวเลย โดยเฉพาะเมื่อใช้วิธีการคำนวณคะแนนแบบ D’Hondt
ด้วยแล้ว พรรคการเมืองใหญ่ก็ยิ่งได้เปรียบ นอกจากนั้น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองใดๆ ก็สามารถ