Page 100 - kpi10607
P. 100
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
101
9) ผลักดันโครงการเข้าสู่เครือข่าย 100 องค์กร เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เทศบาล
นครตรังได้นำโครงการการใช้ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ (ถุงรีไซเคิล) เพื่อลดโลกร้อนเข้าสู่
ที่ประชุมเครือข่าย 100 องค์กร และมีผู้สมัครเข้าร่วมเป็นเครือข่ายจำนวน 60 แห่ง ในปัจจุบัน สถาบันพระปกเกล้า
สมาชิกได้เข้าร่วมโครงการเต็มจำนวน 100 องค์กร
ลักษณะการมีส่วนร่วม
การมีส่วนร่วมของประชาชน
1) โครงการนี้เปิดโอกาสให้ประชาชน/ผู้ประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมกับเทศบาลในการรณรงค์ใช้
ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ (ถุงรีไซเคิล) ในระดับของการเข้ามามีบทบาท (Involve)
2) เมื่อได้ราคาถุงที่เหมาะสมแล้ว เทศบาลได้เริ่มประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนรับทราบผ่าน
การให้ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ (Inform) โดยใช้เทคนิคการประชาสัมพันธ์ผ่านใบปลิว แผ่นพับ
หอกระจายข่าว ฯลฯ หรือประชาสัมพันธ์ผ่านทางกิจกรรมการรณรงค์ต่าง ๆ เช่น งานกินเจ
งานมหกรรมกีฬา งานกีฬาสีโรงเรียน ฯลฯ เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการลด
ปริมาณขยะ และขอความร่วมมือจากประชาชนในการใช้ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ (ถุงรีไซเคิล)
โดยประชาสัมพันธ์ไปยังร้านค้าถุงพลาสติกต่าง ๆ ภายในตลาดของเขตเทศบาลนครตรังเป็น
อันดับแรก เพื่อให้ผู้ประกอบการตระหนักถึงความสำคัญของการจำหน่ายถุงพลาสติก
ย่อยสลายได้ (ถุงรีไซเคิล) และรับถุงมาขายภายในร้าน ด้วยการเดินชักชวนผู้ประกอบการ
ส่งจดหมายขอความร่วมมือ หรือเชิญผู้ประกอบการเข้ามาร่วมฟังบรรยายถึงความสำคัญของ
การลดปริมาณขยะ และสอดแทรกการประชาสัมพันธ์ให้เปลี่ยนพฤติกรรมการขายถุงพลาสติก
ซึ่งภายหลังจากที่ประชาสัมพันธ์ไปไม่นาน ผู้ประกอบการต่าง ๆ ได้หันมาให้ความร่วมมือใช้
ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ (ถุงรีไซเคิล) เพราะได้รับแรงกดดันจากประชาชนที่ปฏิเสธการซื้อ
สินค้าจากร้านที่ไม่ใช้ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ (ถุงรีไซเคิล) และเทศบาลนครตรังได้จัดทำป้าย
ขอบคุณร้านค้าที่สนับสนุนโครงการรณรงค์การใช้ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ (ถุงรีไซเคิล) แก่
ผู้ประกอบการเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบว่าร้านค้านี้มีถุงย่อยสลาย
จำหน่าย ซึ่งเป็นที่พอใจแก่ผู้ประกอบการเพราะได้ส่งผลโดยอ้อมให้ยอดขายทางร้านเพิ่มขึ้น
ด้วย
3) นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่เทศบาลนครตรังยังได้ใช้เทคนิคการสร้างระบบการควบคุมและลงโทษทาง
สังคม (Social Sanction) โดยเดินรณรงค์กดดันร้านค้าที่ยังไม่ได้ใช้ถุงพลาสติกย่อยสลายได้
(ถุงรีไซเคิล) อย่างสม่ำเสมอ และชักชวนเด็กและเยาวชนในโรงเรียน อาทิ โรงเรียนสังขวิทย์
และโรงเรียนตรังคริสเตียนศึกษากดดันให้ผู้ประกอบการและประชาชนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
อีกทั้งยังได้ชักชวนให้ผู้ประกอบการที่ใช้ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ (ถุงรีไซเคิล) แล้วเข้าร่วมเป็น
ภาคีกดดันผู้ประกอบการที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเวลาที่เจ้าหน้าที่ของเทศบาลไม่ได้
ลงพื้นที่รณรงค์ เทคนิคดังกล่าวส่งผลให้ประชาชนและผู้ประกอบการต่างตรวจสอบกันเอง
ในชุมชน ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมกระบวนการการมีส่วนร่วมจากประชาชนโดยมิรู้ตัวด้วย