Page 103 - kpi10607
P. 103

ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย




          10                    อีกทั้ง นายชาลียังได้รับความไว้วางใจจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นและหน่วยงานอื่น

              สถาบันพระปกเกล้า   ในจังหวัดตรัง ด้วยการที่เป็นนักการเมืองท้องถิ่นมาเป็นเวลายาวนาน มีความสัมพันธ์ที่ดีกับหลายหน่วยงาน



                   เห็นได้จากการที่นายชาลีเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งเครือข่าย 100 องค์กรงานป้องกันบรรเทาสาธารณภัย จนพัฒนา
                   มาเป็นเครือข่าย 100 องค์กรจังหวัดตรัง โดยมีนายกิจ หลีกภัย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง เป็น

                   ประธาน ในฐานะที่เป็นผู้บริหารจังหวัดตรัง และเครือข่ายก็ได้พัฒนามาเป็นเครือข่ายด้านโครงสร้างพื้นฐาน
                   เครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้รับความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ ในการร่วมรณรงค์โครงการการริเริ่มกิจกรรม

                   การใช้ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ (ถุงรีไซเคิล) เพื่อลดโลกร้อน ก็มาจากความสัมพันธ์ที่ดีของนายชาลี
                             5
                   แทบทั้งสิ้น

                      อุปสรรคในการดำเนินโครงการและการแก้ไขปัญหา

                           ปัญหาที่พบคือการที่ผู้ประกอบการมักไม่ให้ความร่วมมือ เนื่องจากบางครั้งราคาถุงพลาสติก
                   ย่อยสลายได้ (ถุงรีไซเคิล) จะแพงกว่าราคาถุงพลาสติกที่ไม่ย่อยสลาย ทำให้ผู้ประกอบการเปลี่ยนแปลง

                   พฤติกรรมไปตามราคาถุงที่ผันผวน แต่อย่างไรก็ตาม เทศบาลนครตรังก็ได้แก้ไขปัญหานี้ด้วยการให้เด็กและ
                   เยาวชนเป็นแกนนำในการรณรงค์ และวางกลยุทธ์สร้างเครือข่ายผู้ประกอบการที่ใช้ถุงพลาสติกย่อยสลายได้
                   (ถุงรีไซเคิล) แล้วรวมตัวกดดันผู้ที่ไม่ได้ใช้ถุงรีไซเคิล ด้วยประโยคเด็ดที่ว่า “ทำไมเธอไม่เปลี่ยนถุงเป็น

                   ถุงรีไซเคิลเสียที ฉันเปลี่ยนแล้วนะ และนี่เธอขออะไรไป เทศบาลให้เธอทุกอย่าง แต่ทำไมเธอไม่เคยให้อะไร
                   กลับเทศบาลบ้างล่ะ? เอาเหอะเพื่อชุมชนเรานะ” ซึ่งการให้ประชาชนเป็นแกนนำในการดูแลอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
                   ของเขาด้วยกันเองน่าจะได้ผลในระยะยาวมากกว่าการออกหนังสือสั่งการหรือเทศบัญญัติมาบังคับใช้ เพราะมัก

                   ใช้ได้เพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น

                      ความยั่งยืนในการดำเนินโครงการ


                           กิจกรรมการรณรงค์นี้ถือได้ว่ามีความยั่งยืนในการดำเนินโครงการ เพราะเทศบาลนครตรังได้ทำ
                   บันทึกความเข้าใจ (MOU) ผ่านทางเครือข่าย 100 องค์กรของจังหวัดตรังเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หากองค์กรใดมี


                         5    นายชาลี กางอิ่ม (นายกเทศมนตรี เทศบาลนครตรัง) และ นายพูนพงษ์ หิรัญชุณหะ (หัวหน้าสำนักงาน
                   ปลัดเทศบาล) และ นายสมบูรณ์ เสียมไหม (เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 6) กล่าวว่า “เครือข่าย 100 องค์กรนั้น

                   ริเริ่มมาจากความคิดของนายกชาลี ที่ต้องการให้ท้องถิ่น และหน่วยงานอื่น ๆ ทำงานร่วมกันให้ได้ เพราะการดำเนินการ
                   เพื่อขจัดปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้ผลสำเร็จอย่างครบวงจรแล้ว เราไม่อาจจะกระทำได้โดยเทศบาลนครตรังเพียง
                   แห่งเดียว คงต้องพึ่งความร่วมมือจากองค์กรอื่น ๆ ด้วย เช่น การบรรเทาสาธารณภัย หากเกิดภัยขนาดใหญ่ที่เทศบาล
                   นครตรัง เทศบาลนครตรังเพียงแห่งเดียวก็ไม่อาจจะรับมือกับภัยนั้นได้ จำต้องขอความร่วมมือจากองค์กรอื่น ๆ เข้ามา
                   แก้ไขปัญหา หากต้องการจะสร้างถนน เทศบาลเพียงแห่งเดียวก็ไม่สามารถสร้างถนนที่ดีให้กับประชาชนของเทศบาล
                   ในเขตรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ ได้ จำต้องร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อให้ประชาชนของ

                   เทศบาลนครตรังได้ใช้ถนนที่ดีในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ ด้วย หรือแม้แต่ด้านสิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำ
                   จะเสียก็ไม่ได้เกิดจากเทศบาลเพียงแห่งเดียว หากต้องแก้ไขกันที่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำด้วย ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับ
                   พื้นที่การจัดการของหน่วยงานอื่น และหากจะลดปริมาณขยะก็จะต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่น ๆ
                   เห็นความสำคัญของปัญหาที่จะเกิดขึ้น และร่วมมือกันแก้ไขปัญหา เทศบาลนครตรังเพียงแห่งเดียวอาเป็นผู้ริเริ่มได้
                   แต่คงไม่สามารถทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการเต็มพื้นที่จังหวัดตรังได้, สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม

                   พ.ศ.2551.
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108