Page 102 - kpi10607
P. 102
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
10
ผลสำเร็จในการดำเนินโครงการ
1) ผู้ประกอบการเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ (ถุงรีไซเคิล) มากกว่าร้อยละ
90 % และหากสำรวจตามร้านค้าแผงลอยต่าง ๆ ในเขตเทศบาลนครตรังจะพบว่ามีร้านค้า สถาบันพระปกเกล้า
จำนวนมากใช้ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ (ถุงรีไซเคิล) หรือกระดาษห่อข้าวแทนกล่องโฟมและ
ถุงพลาสติกแบบไม่ย่อยสลาย อีกทั้งประชาชนมีการถามหาถุงพลาสติกย่อยสลายได้ (ถุงรีไซเคิล)
จากร้านค้า เพราะเห็นว่าถุงนั้นทำมาจากวัสดุที่ย่อยสลายได้ ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
ช่วยลดปริมาณขยะและลดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย กระบวนการนี้ถือเป็นการบังคับทางอ้อมให้
ผู้ประกอบการเปลี่ยนมาใช้ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ (ถุงรีไซเคิล) ถึงแม้ว่าราคาจะผันผวนแพง
กว่าถุงพลาสติกไม่ย่อยสลายในภาวะที่ราคาน้ำมันแพง ผู้ประกอบการก็จำต้องเปลี่ยนมาใช้ถุง
พลาสติกย่อยสลายได้ (ถุงรีไซเคิล) เพื่อเอาใจผู้บริโภค
2) ปริมาณขยะในสถานที่จัดเก็บขยะของเทศบาลนครตรังลดลง หากสังเกตด้วยตาเปล่าจะไม่พบ
ถุงพลาสติกธรรมดา
3) การขยายความร่วมมือไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในเครือข่าย 100 องค์กรที่สมัคร
เข้าร่วมโครงการฯ ทั้งหมด
ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินโครงการ
1) ความตั้งใจและความสม่ำเสมอในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ นับตั้งแต่โครงการริเริ่มโดย
เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง ต่อมาได้ร่วมหาบริษัทร่วมต่อรอง
ราคากับบริษัทผลิตถุงพลาสติกย่อยสลายได้ (ถุงรีไซเคิล) เพื่อให้ได้ราคาที่ถูกที่สุด และการที่
เจ้าหน้าที่ของเทศบาลจัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการ อีกทั้งยังออกเดิน
รณรงค์ตามตลาดต่างๆ เพื่อชักชวน ประชาสัมพันธ์ร้านค้าต่อร้านค้าให้เปลี่ยนแปลง
พฤติกรรม ตลอดจนได้ชักชวนเครือข่ายเด็กและเยาวชนในโรงเรียนเข้าร่วมรณรงค์ ชักชวน
ร้านค้าต่าง ๆ ให้กดดันร้านค้าอื่นที่ยังไม่ได้เปลี่ยนมาใช้ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ (ถุงรีไซเคิล)
2) ปัจจัยด้านผู้นำ อันได้แก่ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครตรัง นายชาลี กางอิ่ม เนื่องด้วยความ
สัมพันธ์ที่ดีของนายชาลีที่มีต่อเจ้าหน้าที่เทศบาลทุกคน เจ้าหน้าที่ให้ความเคารพในบุคลิกที่
พูดจริง ทำจริง คิดโครงการแล้วอยากให้ประสบความสำเร็จ พร้อมผลักดันงบประมาณอยู่เสมอ
หากเห็นว่าโครงการนั้นมีประโยชน์ต่อประชาชนของเทศบาล และลงมือปฎิบัติด้วยตนเอง
ทุกโครงการ เพื่อเป็นแบบอย่างแก่เจ้าหน้าที่และประชาชน รวมทั้งได้ติดตามสอบถามการดำเนิน
โครงการอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เจ้าหน้าที่กระตือรือร้น นอกจากนี้ นายชาลียังมีความสัมพันธ์ที่ดี
กับฝ่ายสภาและปลัดเทศบาลนครตรัง และได้รับความเคารพ เกรงใจจากประชาชน หาก
ผู้ประกอบการร้านค้าเห็นว่านายชาลีขอความร่วมมือให้ใช้ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ (ถุงรีไซเคิล)
ก็จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยทันที เพราะมีความเชื่อมั่นในตัวนายชาลีว่าคิดโครงการใดแล้ว
มักจะทำเพื่อชุมชนเทศบาลนครตรังอยู่เสมอ 4
4 นายสมหมาย ยอดเพชร (ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม) กล่าวว่า “ชาวบ้านเขามีความเชื่อถือ
นายกชาลีอย่างมาก ผมก็นับถือ เพราะเห็นจากรางวัลที่ท่านได้เพราะท่านทำจริง โครงการนี้แม้นายกจะลงตำแหน่งไป
แล้ว ก็ยังต้องลงมือทำต่อไป สิ่งแวดล้อมมันกระทบไปทั่วไม่มีพรมแดน ทุกท้องถิ่นต้องช่วยเหลือร่วมกัน”, สัมภาษณ์
เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2552.