Page 104 - kpi10607
P. 104

ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย




                                                                                                                 10


                       การเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร แม้แต่เทศบาลนครตรังก็ตาม โครงการนี้ก็จะยังต้องดำเนินต่อไปเพราะเป็นโครงการ
                       สิ่งแวดล้อมที่จะมีผลต่อชุมชนและประชาชนในระยะยาว อีกทั้งเป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง


                          ความสามารถในการถ่ายทอดบทเรียนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น                           สถาบันพระปกเกล้า

                                 1)  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สนใจควรต้องสำรวจปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของตนเองก่อน
                                    เป็นอันดับแรกว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เผชิญปัญหาใดที่สำคัญ มีความเร่งด่วนที่จะต้องได้รับการ

                                    แก้ไขเป็นอันดับแรก และจัดลำดับความสำคัญของแต่ละปัญหา อาจให้ตัวแทนประชาชน
                                    ในแต่ละชุมชน/หมู่บ้านมาร่วมระดมความคิดเห็นในเบื้องต้น เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่าง
                                    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับประชาชนก่อนในระยะแรก


                                 2)  สำรวจว่ามีปริมาณขยะเพิ่มขึ้นต่อปีมากน้อยเพียงใด และควรสำรวจพฤติกรรมประชาชนว่า
                                    มีความเชื่อถือในตัวบุคคลใด อาจให้บุคคลนั้นมาเป็นผู้ประชาสัมพันธ์ อาทิ ผู้บริหารท้องถิ่น
                                    เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น เด็กและเยาชน บุคคลสำคัญในจังหวัด


                                 3)  วางแผนการดำเนินโครงการ โดยเริ่มจากปัญหาเร่งด่วนที่ต้องได้รับการแก้ไขมากที่สุด และ
                                    วางแผนกำลังคน ทรัพยากร งบประมาณที่คาดว่าจะต้องใช้ในแต่ละโครงการ อาจลอง
                                    จินตนาการว่าอยากเห็นโครงการประสบความสำเร็จอย่างไร และถ้าหากจะประสบความสำเร็จ

                                    ได้นั้น ควรสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมให้เกิดในท้องถิ่นแบบใด อย่างไรให้เหมาะสมกับ
                                    พฤติกรรมของประชาชนในพื้นที่ เช่น การพบปะ พูดคุย การให้เข้าร่วมประชุม การให้
                                    ประชาชนเป็นคณะกรรมการร่วมคิด แก้ไขปัญหาร่วมกับทางเทศบาล ฯลฯ และพิจารณาว่า

                                    กิจกรรมนั้นควรใช้เทคนิคประชาสัมพันธ์รูปแบบใดที่จะทำให้ประชาชนหันมาสนใจ และตื่นตัว
                                    กับกิจกรรมที่ทำ จนอยากที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และที่สำคัญควรมีการวางแผนทั้งใน
                                    ระยะสั้นและระยะยาว และควรมีแผนสำรองเพื่อรับมือกับปัญหาที่อาจจะเกิดตามมาเมื่อดำเนิน

                                    โครงการไปแล้ว โดยอาจศึกษากรณีของเทศบาลนครตรังเป็นตัวอย่างในเบื้องต้น โดยการ
                                    วางแผนนี้อาจให้ตัวแทนประชาชนแต่ละชุมชน / หมู่บ้านมาร่วมวางแผนร่วมกับองค์กร
                                    ปกครองส่วนท้องถิ่น


                               ด้วยขั้นตอนเหล่านี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะสามารถดำเนินโครงการนี้ได้อย่างเป็นขั้นตอน
                       และเป็นระบบ เพราะได้ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ และมีการวางแผนไว้อย่างเรียบร้อยแล้ว

                               อีกทั้งไม่ควรคิดว่าที่เทศบาลนครตรังประสบความสำเร็จเพราะผู้บริหารมีความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ดี

                       กับประชาชนและหน่วยงานอื่น ๆ และไม่ควรคิดว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะทำไม่ได้เพราะความสัมพันธ์
                       กับหน่วยงานอื่นไม่มี แต่ควรคิดในทางกลับกัน คือเริ่มจากความตั้งใจที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี อยากทำ
                       อยากแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น และในระหว่างการดำเนินโครงการจะถูกแก้ไขได้เอง และมุ่งไปสู่การพัฒนา

                       โครงการได้ต่อไป
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109