Page 108 - kpi10607
P. 108
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
10
การระดมทรัพยากรและทรัพยากรที่ใช้
งบประมาณ - แผ่นป้ายปิ่นโตลดเมืองร้อน 19 แผ่น 18,300 บาท
(งบประมาณของโครงการ - งบประมาณสนับสนุนจากเทศบาลนครตรัง 50,000 บาท สถาบันพระปกเกล้า
มาจากงบทั่วไป) ในการมหกรรมอาหาร
- ประชาสัมพันธ์วิทยุชมชน หอกระจายข่าว ฟรี
หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น วารสารเทศบาล
พัสดุ คุรุภัณฑ์ พัสดุ คุรุภัณฑ์ใช้ร่วมกับกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ฟรี
บุคลากร - เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 10 คน
เทศบาลนครตรัง
- สมาคมผู้ประกอบการร้านอาหารจังหวัดตรัง 80 คน
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง 10 คน
- สถานีตำรวจภูธร (ร่วมมือในการจัดมหกรรมอาหาร) 10 คน
ผลสำเร็จในการดำเนินโครงการ
1) ปริมาณขยะลดลง โดยเทียบเคียงจากการสั่งซื้อวัสดุย่อยสลายมากถึง 79,700 ชิ้น ในปี พ.ศ.
2551 ซึ่งในปริมาณดังกล่าวหากเป็นกล่องโฟมจะส่งผลต่อการทำลายสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก
2) ผลประกอบการร้านอาหารที่ร่วมโครงการดีกว่าร้านอื่น ๆ ซึ่งเห็นได้จากการสัมภาษณ์
ผู้ประกอบการร้านอาหารที่ร่วมโครงการพบว่าประชาชนพึงพอใจในบรรจุภัณฑ์ (Package)
ย่อยสลายของทางร้าน เพราะเล็งเห็นถึงประโยชน์ด้านสุขภาพ และส่งผลให้ยอดขายทางร้าน
เพิ่มขึ้นกว่าเดิม
ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินโครงการ
1) ความสม่ำเสมอในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ อย่างต่อเนื่องของเทศบาลนครตรัง จนเกิด
เป็นการสร้างระบบการควบคุมและลงโทษทางสังคมกับร้านอาหารที่ไม่ใช้บรรจุภัณฑ์ย่อยสลาย
อีกทั้งเทศบาลยังได้ให้การสนับสนุนทุกเรื่องตามที่ชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารจังหวัดตรัง
ได้ร้องขอในการส่งเสริมให้ร้านอาหารเป็นร้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น การร่วมรณรงค์ การจัด
กิจกรรมโครงการต่าง ๆ การสนับสนุนงบประมาณ สถานที่ประชุม สถานที่จัดกิจกรรมการ
รณรงค์ การจัดอบรมให้ความรู้ เป็นต้น
2) ความเข้มแข็งของชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารจังหวัดตรัง ใช้เทคนิคการประสานงานกัน
เป็นเครือข่ายไปยังชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารตามอำเภอต่าง ๆ และมีจิตอาสา เสียสละตน
ทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อต้องการเห็นเมืองตรังน่าอยู่ โดยเริ่มต้นจัดหาโรงงานผลิตต่อรองราคา
ที่ถูกที่สุด จัดกิจกรรม อาทิ งานมหกรรมอาหาร งานถือศีลกินผัก เพื่อเป็นสื่อประชาสัมพันธ์
ให้ประชาชนได้รับทราบถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม