Page 113 - kpi10607
P. 113
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
11 ลักษณะการมีส่วนร่วม
สถาบันพระปกเกล้า คนรักษ์คลองน้ำเจ็ดขึ้นมาก่อนที่เทศบาลนครตรังจะยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ เนื่องจากประชาชนริมสองฝั่งคลอง
การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการกลุ่มคนรักษ์คลองน้ำเจ็ด ประชาชนได้รวมตัวกันเป็นกลุ่ม
น้ำเจ็ดให้ความสำคัญกับปัญหาน้ำเน่าเสีย มีขยะในแม่น้ำลำคลองเป็นลำดับแรก จึงมีจิตสาธารณะร่วมกัน
แก้ปัญหาเพื่อชุมชนของตนเอง โดยยอมเสียสละแรงกายและกำลังทรัพย์ของตนเข้ามาดูแลอนุรักษ์ลำคลอง จน
ต่อมาพัฒนาเป็น “องค์กรชุมชนตามธรรมชาติ” และได้รับความช่วยเหลือจากเทศบาลนครตรัง โดยมีการ
จัดสรรเงินงบประมาณบางส่วนให้แก่ชุมชนเพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในการอนุรักษ์คลองน้ำเจ็ด และจัดหา
วัสดุ ครุภัณฑ์ที่จำเป็น อาทิ ท่อซีเมนต์เพื่อมาจัดทำเป็นบ่อขยะ และบ่อดักไขมันตามบ้านเรือนที่ตั้งอยู่ริมสอง
ฝั่งคลอง รวมทั้งเทศบาลนครตรังยังได้ร่วมจัดงานวันสิ่งแวดล้อมโลกและวันสิ่งแวดล้อมไทยร่วมกับกลุ่มคน
รักษ์คลองน้ำเจ็ดอีกด้วย
นอกจากนั้น เทศบาลนครตรังยังได้ร่วมกันจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ภายในวัด กิจกรรมการคัดแยก
ขยะในครัวเรือน กิจกรรม “ถังดักไขมันในครัวเรือน และกิจกรรมผ้าป่าขยะกับกลุ่มคนรักษ์คลองน้ำเจ็ด
จนทำให้โครงการคนรักษ์คลองน้ำเจ็ดเป็นส่วนหนึ่งของการได้รับรางวัลเมืองน่าอยู่อันดับ 1 ปี พ.ศ. 2551
ถือเป็นการประสานความร่วมมือระหว่างชุมชนกับเทศบาลให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมแบบปรึกษาหารือ
ร่วมกัน (Consult) ให้ชุมชนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น สามารถตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนได้เอง
โดยเทศบาลได้สนับสนุนงบประมาณการดำเนินกิจกรรม และพาชุมชนไปศึกษาดูงานยังองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นอื่นที่มีการจัดการแหล่งน้ำในชุมชนที่ดี ให้ชุมชนกับเทศบาลร่วมกันพัฒนาชุมชน ซึ่งสามารถลดภาระ
เทศบาลในการดูแลพื้นที่ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีจิตสำนึกรักท้องถิ่น อันนำไปสู่การปลูกฝัง
จิตสำนึกความเป็นพลเมือง (Citizenship) ได้อีกด้วย
การมีส่วนร่วมระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โครงการ “กลุ่มคนรักษ์คลองน้ำเจ็ด” ได้ขยาย
ความร่วมมือไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่สนใจดำเนินโครงการ เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล
บ้านโพธิ์ องค์การบริหารส่วนตำบลบางสัก และในอนาคตจะขยายความร่วมมือไปยังองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นอื่นที่สนใจนอกจังหวัดตรังอีกด้วย
การมีส่วนร่วมระหว่างภาคส่วนอื่น ๆ โครงการนี้มิอาจประสบความสำเร็จได้หากขาดความร่วมมือ
จากภาคส่วนอื่น ๆ อันได้แก่ วัด ศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาจังหวัดตรังและกลุ่มเยาวชนอนุรักษ์สัมพันธ์ตรัง
อันประกอบไปด้วย โรงเรียนวิเชียรมาตุ โรงเรียนอุษากร โรงเรียนสวัสดีรัตนาภิมุก และโรงเรียนตรังคริสเตียน
ศึกษาที่เข้ามาร่วมกันอนุรักษ์คลองน้ำเจ็ดเพื่อเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกในการรักน้ำให้แก่เด็กและเยาวชนต่อไป
ในอนาคต และกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการตรวจวัด
คุณภาพน้ำเสียอยู่เป็นประจำเสมอมา
นอกจากองค์กรภาคราชการแล้ว กลุ่มคนรักษ์คลองน้ำเจ็ดยังได้รับความร่วมมือจากองค์กรพัฒนา
เอกชน (NGOs) โดยจัดตั้งเป็น องค์กรภาคีทางด้านสิ่งแวดล้อมในจังหวัดตรัง อันได้แก่ องค์การสร้างเสริม
จิตสำนึกนิเวศน์วิทยาเพื่อสอนการร่างแผนกิจกรรมชุมชนให้แก่กลุ่มคนรักษ์คลองน้ำเจ็ด องค์การสร้าง
ศักยภาพชุมชนอย่างยั่งยืน และองค์การพัฒนาชุมชนเป็นสุขภาคใต้เพื่อจัดทำศูนย์บำบัดชีวภาพและสอนทำปุ๋ย
หมัก โดยการนำของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ที่สนับสนุนความรู้ทางวิชาการให้แก่คนรักษ์คลอง
น้ำเจ็ดอยู่เป็นประจำและสม่ำเสมอ