Page 110 - kpi10607
P. 110
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
111
โครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ :
ด้านการฟื้นฟูสภาพแหล่งน้ำ สถาบันพระปกเกล้า
) โครงการ “กลุ่มคนรักษ์คลองน้ำเจ็ด”
สภาพปัญหาและสถานการณ์ก่อนริเริ่มโครงการ
เนื่องด้วยเทศบาลนครตรังมีลำคลองไหลผ่าน 2 ลำคลอง อันได้แก่ คลองห้วยยาง และคลองน้ำเจ็ด
ซึ่งปัจจุบันลำคลองทั้ง 2 แห่งนี้เกิดสภาพน้ำเน่าเสีย ขยะเต็มลำน้ำ อันเป็นสาเหตุมาจากการที่เทศบาลนครตรัง
เป็นชุมชนเมืองที่มีประชากรหนาแน่น ไม่มีการบำบัดน้ำเสีย ไม่มีบ่อดักไขมัน และมีการทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูลต่าง ๆ
จากบ้านเรือนลงสู่ลำคลองโดยตรง จนเป็นเหตุให้ลำคลองทั้งสองอุดตัน แหล่งน้ำเน่าเสีย ต้นน้ำ
ที่มีอยู่เดิมหายไปในปี พ.ศ. 2548 เพราะถูกสิ่งปฏิกูลหรือขยะทับถม มีปริมาณน้ำเสียสูงถึง 5,700–6,500
ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยมีเพียงเทศบาลนครตรังเท่านั้นที่เป็นผู้ดำเนินการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งมีสถานีสูบน้ำเสีย
5 แห่ง กับพนักงานปฏิบัติหน้าที่บำบัดน้ำเสีย จำนวน 11 คน ซึ่งไม่เพียงพอในการบำบัดน้ำเสียในเขตเทศบาล
7
นครตรังได้ หากประชาชนยังละเลยที่จะให้ความร่วมมือฟื้นฟูสภาพแหล่งน้ำ
ดังนั้น ประชาชนท้องถิ่นดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งคลองน้ำเจ็ดจึงได้รวมตัวกันแก้ไขปัญหาน้ำเสีย
จัดเก็บขยะ และได้ร่วมกันประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ผู้อยู่อาศัยที่มาอยู่ใหม่ในบ้านจัดสรรได้ตระหนักถึงปัญหา
ที่เกิดขึ้นในชุมชนคลองน้ำเจ็ดภายใต้โครงการ “กลุ่มคนรักษ์คลองน้ำเจ็ด”
วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน
1) เพื่อสร้างจิตสำนึกและความตระหนักร่วมกันในการรักษาสิ่งแวดล้อมคลองน้ำเจ็ด โดยการสร้าง
เครือข่ายสองฝั่งคลอง ร่วมกันเฝ้าระวังตลอดแนวสองฝั่งคลองน้ำเจ็ด
2) เพื่อสร้างคลองน้ำเจ็ดเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ ร่วมพัฒนาและฟื้นฟูคลองน้ำเจ็ด และ
เชื่อมสัมพันธ์องค์กรเครือข่ายสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในจังหวัดตรังและพื้นที่ใกล้เคียง เผยแพร่
ความรู้แก่ชุมชน ร่วมศึกษาความหลากหลายทางกายภาพ ชีวภาพ วัฒนธรรมประเพณีและ
ร่วมสืบค้นภูมิปัญญาท้องถิ่น
ขั้นตอนและระยะเวลาการดำเนินงาน
ประชาชนริมสองฝั่งคลองน้ำเจ็ดได้ร่วมกันก่อตั้งเป็นชุมชนคนรักษ์คลองน้ำเจ็ด เมื่อปี พ.ศ. 2544
โดยมีกิจกรรมการถางป่าข้างคลอง จัดเก็บขยะ ขุดลอกคลอง ปรับปรุงทัศนียภาพสองฝั่งคลอง สำรวจทางน้ำ
ใหม่ และทำทางเดินสองฝั่งคลอง ชาวบ้านได้มีการลงขันกันเพื่อซื้อต้นกล้ามาปลูก (ส่วนใหญ่มักเป็นต้นไม้ท้อง
ถิ่นเดิม) และจัดทำเป็นรายนามพันธุ์ไม้และพืชสมุนไพรที่มีอยู่ตามริมสองฝั่งคลอง ในปี พ.ศ. 2546 ได้พัฒนา
เป็น “องค์กรชุมชนตามธรรมชาติ” และกลุ่มคนรักษ์คลองน้ำเจ็ดได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการ
เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2548 โดยมีสมาชิกภายในกลุ่มจากภาคส่วนต่างๆ ประกอบด้วยแกนนำและ
7 ข้อมูลจาก, งานวิเคราห์นโยบายและแผน ฝ่ายแผยงานและงบประมาณ กองวิชาการและแผนงาน, แผน
พัฒนาสามปี (พ.ศ.2552-2554) เทศบาลนครตรัง, น.14.