Page 114 - kpi10607
P. 114
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
11
ตลอดจนการให้เงินอุดหนุนของหน่วยงานราชการเพื่อช่วยเหลือกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่ม เช่น
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เงินอุดหนุนกองทุนเพื่อการพัฒนาคลองน้ำเจ็ดแก่ชุมชนจำนวน
90,000 บาท บริษัทโตโยต้าเมืองตรังได้ให้เงินอุดหนุนจำนวน 10,000 บาท เพื่อให้ประชาชนจัดประกวดแข่งขัน สถาบันพระปกเกล้า
ผ้าป่าขยะ และเมื่อจัดประกวดเสร็จก็ได้รับความร่วมมือจากบริษัทวงศ์พาณิชย์เข้ามารับซื้อขยะในวันงาน
หลังจากนั้นก็เข้ามารับซื้อขยะในชุมชนเป็นประจำทุกเดือน อันเป็นการลดปริมาณการทิ้งขยะลงสู่ลำคลองไปได้
อย่างมาก
การระดมทรัพยากรและทรัพยากรที่ใช้
งบประมาณ - การจัดการสิ่งแวดล้อมโลกต่อปี* 30,000 บาท
(1. *งบประมาณของโครงการ - บ่อดักไขมัน บ่อขยะ (ท่อซีเมนต์)* 24,000 บาท
มาจากงบทั่วไป และ - ประชาสัมพันธ์วิทยุชมชน หอกระจายข่าว ฟรี
2**งบประมาณอุดหนุนจาก หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น วารสารเทศบาล*
หน่วยงานต่าง ๆ)
- เงินรางวัลโครงการผ้าป่าขยะของ 10,000 บาท
บริษัท โตโยต้า ประเทศไทย จำกัด**
- งบประมาณจากโครงการคลองสวยน้ำใสของ 90,000 บาท
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พัสดุ คุรุภัณฑ์ พัสดุ คุรุภัณฑ์ใช้ร่วมกับกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ฟรี
บุคลากร - เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง 4 คน
- ชมรมคนรักษ์คลองน้ำเจ็ด 20 คน
- วิทยากรจากหน่วยงานอื่น ๆ ครั้งละ (ประมาณ) 5 คน
ผลสำเร็จในการดำเนินโครงการ
ผลสำเร็จของโครงการที่เห็นได้ชัดเจนคือปริมาณขยะในแม่น้ำลำคลองลดลง น้ำมีกลิ่นที่ดีขึ้น สีน้ำ
ดีขึ้น (หากเพียงมองด้วยตาเปล่า) สัตว์น้ำเริ่มอาศัยอยู่ได้ และปัจจุบันก็ได้พัฒนามาเป็นแหล่งท่องเที่ยว
เชิงอนุรักษ์อีกแห่งหนึ่งของเทศบาลนครตรัง
นอกจากนั้น ผลสำเร็จยังสามารถตีค่าเป็นรายได้เสริมเพิ่มขึ้นของกลุ่ม เพราะหลังจากได้รับการ
อบรม กลุ่มคนรักษ์คลองน้ำเจ็ดก็สามารถนำขยะที่ได้จากการลอกคลองมาทำเป็นปุ๋ยหมักและจำหน่าย
ส่วนขยะในครัวเรือนหรือขยะที่เก็บขึ้นมาจากการที่ประชาชนทิ้งลงคลองก็สามารถนำมาขายได้ราคา นับเป็น
รายได้เสริมให้กับชุมชนได้อีกทางหนึ่ง
ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินโครงการ
ปัจจัยแห่งความสำเร็จของโครงการนี้ที่สำคัญมากคือ ความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจของประชาชนใน
การรวมตัวกันเป็นกลุ่มคนรักษ์คลองน้ำเจ็ด ลักษณะองค์กรชุมชนตามธรรมชาติดั้งเดิม และมีจิตสาธารณะที่ทำ