Page 115 - kpi10607
P. 115

ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย




           11      เพื่อชุมชนของตนเองโดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ เพียงแต่ต้องการเห็นแหล่งน้ำคลองน้ำเจ็ดอยู่คู่กับชุมชน

              สถาบันพระปกเกล้า   เหมือนเก่า และให้ลูกหลานได้สืบสานรับมรดกนี้ไปพัฒนาและอนุรักษ์ริมคลองนี้ต่อไป




                           นอกจากนี้ ปัจจัยแห่งความสำเร็จอีกประการคือการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนกลุ่มคนรักษ์คลอง

                   น้ำเจ็ดของเทศบาลนครตรัง โดยการส่งวิทยากรอาสาสมัครมาอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
                   กับกลุ่มคนรักษ์คลองน้ำเจ็ดอยู่เป็นประจำ หรือหากกลุ่มคนรักษ์คลองน้ำเจ็ดต้องการวัสดุ อุปกรณ์ หรือแม้แต่
                   การให้จัดกิจกรรม เช่น ผ้าป่าขยะ วันสิ่งแวดล้อมไทย และวันสิ่งแวดล้อมโลก เทศบาลนครตรังก็ยินดี และ

                   พร้อมที่จะให้ความร่วมมืออยู่เสมอ เพราะเป็นนโยบายของนายชาลี กางอิ่ม นายกเทศมนตรีเทศบาลนครตรังที่
                   ประสงค์ให้เทศบาลเป็นแกนนำในการรณรงค์เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมครอบคลุมทั้งเขตเทศบาล และต้องการ
                   ขยายความร่วมมือในการอนุรักษ์ พิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อมไปยังหน่วยงานและองค์กรอื่นนอกเขตเทศบาล

                   นครตรังอีกด้วย

                      อุปสรรคในการดำเนินโครงการและการแก้ไขปัญหา


                           อุปสรรคในการดำเนินโครงการ คือคนในชุมชนที่จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาดูแลและอนุรักษ์
                   คูคลองอาจมีน้อยลง เนื่องจากให้ความสนใจไปกับความบันเทิงอื่น ๆ มากกว่าที่จะใช้เวลาอยู่กับธรรมชาติ
                   โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนยุคใหม่ในชุมชนที่ขาดความรู้ในการอนุรักษ์แบบถูกวิธีและมีความคิดที่อยากได้อะไร

                   ง่าย ๆ และสะดวกอยู่เป็นประจำ เช่น ขาดความรู้ว่าทำไมต้องเอามีดไปตัดกิ่งไม้ เพื่อถางป่ารก ทำไมไม่นำ
                   รถเครนไปขุดจะได้เสร็จเร็ว โดยไม่ทราบว่าการนำรถเครนไปขุดทำให้สะเทือนถึงพันธุ์ไม้สำคัญอื่น ๆ ที่อยู่
                   ริมคลองด้วย และยังทำให้ร่องน้ำในคลองอาจเปลี่ยนแปลงทิศทางได้ เป็นต้น อีกทั้งเด็กสมัยใหม่ยังสนใจกับ

                   เกมคอมพิวเตอร์ในห้องแอร์มากกว่าจะมาเสียเวลากับการอนุรักษ์ เพราะทำให้เหงื่อออกและสกปรก ซึ่งหาก
                   ปล่อยให้เด็กและเยาวชนไม่เข้าใจวิธีการการอนุรักษ์ที่ถูกต้องแล้ว อนาคตต่อไปคลองน้ำเจ็ดก็อาจตกอยู่ใน
                   สภาพเน่าเสียแบบเดิมได้


                           อีกทั้งการดูแลรักษาคลองที่มีความกว้างประมาณ 3 เมตร และความยาวประมาณ 10 กิโลเมตรนั้น
                   นับว่าเป็นคลองที่มีขนาดใหญ่มาก กำลังคนในชุมชนคลองน้ำเจ็ดในการอนุรักษ์จึงไม่เพียงพอ อีกทั้งปริมาณ
                   เงินที่ลงขันกันก็ยังน้อยเกินไปที่จะดูแลรักษาได้สมบูรณ์ดังเดิม หากแต่ต้องใช้เวลาในการฟื้นฟู และยังต้อง

                   พึ่งพิงเงินอุดหนุนจากแหล่งอื่นด้วย

                           กลุ่มคนรักษ์คลองน้ำเจ็ดจึงได้มีวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการรวมตัวกันจัดกิจกรรมและ
                   พยายามดึงให้เด็กและเยาวชนเข้าร่วมในโครงการเพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้เด็กได้เข้าใจถึงประวัติความเป็นมา

                   และวิธีการอนุรักษ์คลองอย่างถูกต้องเป็นประจำ โดยจัดทำทางเดินสำรวจเชิงนิเวศน์ข้างคลอง เพื่อให้เด็กได้
                   ศึกษาวิถีชีวิตคนริมคลอง และกลุ่มคนรักษ์คลองน้ำเจ็ดยังได้แก้ไขปัญหาเรื่องงบประมาณในการดูแลรักษา
                   คลองด้วยการพยายามร่างแผนชุมชนว่าด้วยการอนุรักษ์แหล่งน้ำประวัติศาสตร์ เพื่อนำเข้าสู่โครงการ

                   สิ่งแวดล้อมของเทศบาลนครตรัง และคาดว่าจะได้งบประมาณมาดำเนินการและได้รับความช่วยเหลือในด้าน
                   ต่าง ๆ อีก จากเทศบาลนครตรังภายในปีนี้
   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120