Page 97 - kpi10607
P. 97
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
ลดและแยกขยะมูลฝอยในโรงเรียน โครงการลดเมืองร้อนด้วยมือเรา โครงการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ
สถาบันพระปกเกล้า และขุดลอกแหล่งน้ำสาธารณะ โครงการชุมชนนครตรังปลอดภัย เป็นต้น นอกจากนั้นเทศบาลนครตรังยังมี
เครือข่ายภาคประชาชนในภาคส่วนอื่น ๆ อีกด้วย อาทิ เครือข่ายชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารในเขตเทศบาล
นครตรัง และกลุ่มคนรักษ์คลองน้ำเจ็ด เป็นต้น
โครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ :
ด้านการลดปริมาณขยะ
1) โครงการการริเริ่มกิจกรรมการใช้ถุงพลาสติกย่อยสลายได้
(ถุงรีไซเคิล) เพื่อลดโลกร้อน
สภาพปัญหา/สถานการณ์ก่อนริเริ่มโครงการ
โครงการนี้ริเริ่มจากพนักงานเทศบาลนครตรังท่านหนึ่งเมื่อต้นปี พ.ศ. 2550 ที่เล็งเห็นถึงปัญหาขยะ
ที่นับวันจะมีปริมาณมากขึ้น โดยได้นำเสนอโครงการมายังกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ซึ่งก็ได้รับการ
ตอบรับเป็นอย่างดี เนื่องจากเทศบาลนครตรังกำลังประสบกับปัญหาอย่างหนักในการกำจัดขยะแบบฝังกลบ
ในบ่อฝังของเทศบาลถึง 55 ตันต่อวัน ซึ่งเป็นการกำจัดขยะเพียงวิธีการเดียว และปัจจุบันพื้นที่ฝังกลบขยะก็
ลดน้อยลงไปอย่างมาก หากเทศบาลปล่อยให้เป็นเช่นนี้อีกไม่นานเทศบาลคงต้องเตรียมซื้อที่ดินเพื่อหาที่
ฝังกลบขยะต่อไป อันเป็นการสิ้นเปลื้องงบประมาณ ก่อมลภาวะให้กับชุมชนอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้กับบ่อกำจัดขยะ
และเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาขยะล้นเมือง เทศบาลจึงได้จัดกิจกรรมรณรงค์
ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว ประจวบเหมาะกับการสนับสนุนของ บริษัทโตโยต้า
ประเทศไทย จำกัด ที่สนับสนุนงบประมาณให้เทศบาลนครตรังจัดทำโครงการลดเมืองร้อนด้วยมือเราในปี
พ.ศ. 2550 เพื่อแก้ไขสภาวะโลกร้อนที่ก่อตัวขึ้นทั่วโลก เทศบาลนครตรังจึงได้ริเริ่มกิจกรรมรณรงค์การใช้
ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ (ถุงรีไซเคิล) เพื่อลดโลกร้อน
วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน
1) เพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการร้านค้าต่าง ๆ ตระหนักถึงปัญหาขยะล้นเมือง และร่วม
กิจกรรมรณรงค์การใช้ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ (ถุงรีไซเคิล) เพื่อลดโลกร้อน
2) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนและผู้ประกอบการให้หันมาใช้ถุงพลาสติกที่สามารถ
ย่อยสลายได้ (ถุงรีไซเคิล) โดยมุ่งหวังให้เทศบาลนครตรังเป็นแกนนำในการรณรงค์ทั้งจังหวัด
ตรัง
3) เพื่อให้จังหวัดตรังเป็นพื้นที่นำร่องในการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติกที่ไม่ย่อยสลาย
ให้เป็นถุงพลาสติกที่ย่อยสลายได้ (ถุงรีไซเคิล) ฟื้นฟูจังหวัดตรังให้เป็นจังหวัดน่าอยู่ต่อไป