Page 95 - kpi10607
P. 95
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
สถาบันพระปกเกล้า
บทนำ
ทศบาลนครตรังเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงด้านการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนและความโปร่งใส ซึ่งรางวัลพระปกเกล้าทองคำ ในปี พ.ศ.2551 ที่เทศบาลนครตรังได้รับนั้น
เย่อมเป็นเครื่องรับประกันคุณภาพอันทรงค่าได้เป็นอย่างดี การศึกษานี้ได้คัดเลือกนวัตกรรมที่โดดเด่น
ของเทศบาลด้าน “การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ” เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบในรูป
แบบการรณรงค์ เนื่องด้วยเทศบาลนครตรังได้ตระหนักถึงความสำคัญและความรุนแรงของปัญหาสิ่งแวดล้อม
ว่าเป็นปัญหาใหญ่ในลำดับต้นที่ไม่สามารถแก้ไขด้วยการทุ่มงบประมาณลงไป ซึ่งเป็นการแก้ไขในระยะสั้น
1
เท่านั้น หากแต่เห็นว่าการแก้ไขในระยะยาวขึ้นอยู่กับ “จิตสำนึกของประชาชน” ซึ่งเทศบาลนครตรังถือเป็น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแรก ๆ ที่ให้ความสำคัญกับการรณรงค์เพื่อปลูกจิตสำนึกของทุกภาคส่วน
อย่างแท้จริง โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นวิถีทางในการดำเนินงานหลัก
ด้วยเหตุดังกล่าว การศึกษานี้จึงได้นำเสนอการถอดองค์ความรู้ ตัวแบบหรือวิธีการบริหารจัดการที่เป็น
เลิศด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม จากประสบการณ์ของเทศบาลนครตรัง ภายใต้โครงการ “การอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ” ซึ่งประกอบด้วยโครงการต่างๆ อาทิ
1) ด้านการลดปริมาณขยะ ได้แก่ โครงการการริเริ่มกิจกรรมการใช้ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ (ถุง
รีไซเคิล) เพื่อลดโลกร้อน และโครงการร้านอาหารอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และ
2) ด้านการฟื้นฟูสภาพแหล่งน้ำ ได้แก่ โครงการกลุ่มคนรักษ์คลองน้ำเจ็ด
ทั้งนี้ หากได้นำโครงการการรณรงค์ต่าง ๆ เหล่านั้นมาร้อยเรียงกันแล้ว ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า
การถ่ายถอดองค์ความรู้ ตัวแบบหรือวิธีการบริหารจัดการที่เป็นเลิศในการจัดการสิ่งแวดล้อมด้าน “การอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ” ของเทศบาลนครตรังนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ จะสามารถนำไป
ประยุกต์ใช้เป็นบทเรียนหรือเป็นแบบอย่างที่ดีของตนต่อไปได้
1 ชาลี กางอิ่ม, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนและวิกฤตสิ่งแวดล้อมโลก,
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 10 ประจำปี 2551 (การเมืองและวิกฤตการณ์สิ่ง
แวดล้อม (Politics and Environmental Crisis) (กรุงเทพมหานคร :สถาบันพระปกเกล้า, 2551), น.53-65.