Page 90 - kpi10607
P. 90

ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย




                                                                                                                   1


                       เชียงใหม่ ที่ได้ใบรับรองการเป็นผู้ตัดสิน (License) จากสมาคมผู้ตัดสินฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) เข้ามาช่วย
                       เป็นวิทยากรอบรมผู้ตัดสินของจังหวัดกระบี่ และเป็นผู้ริเริ่มการแข่งขันแบบดิวิชั่น  27

                             3)  การทำงานที่เน้นการมีส่วนร่วมของหน่วยงาน/องค์กรภาคีเครือข่าย มีการทำงานเป็นทีม เคารพ    สถาบันพระปกเกล้า

                       ให้เกียรติซึ่งกันและกัน เช่น วันแถลงข่าวจับสลากแบ่งสาย องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ได้เชิญผู้อำนวยการ
                       สถาบันการพลศึกษาหรือรองอธิการบดีมาร่วมแถลงข่าว หรือการเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดมาเป็นประธานในพิธี
                       เปิดการแข่งขัน และที่สำคัญคือการเปิดโอกาสให้ทีมที่เข้าร่วมแข่งขันเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดกฎระเบียบร่วมกัน

                       การสะท้อนปัญหาที่ประสบร่วมกัน เพื่อไม่ให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ

                             4)  รูปแบบในการจัดการแข่งขันและการให้รางวัล ถือเป็นแรงจูงใจและแรงกระตุ้นสำคัญให้องค์กร
                       ปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการแข่งขัน การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแข่งขันมาเป็นการแบ่ง

                       ดิวิชั่นส่งผลให้การแข่งขันมีความสนุกสนาน เร้าใจ สร้างการยอมรับให้กับทุกฝ่ายทั้งทีมที่แข่งขันและผู้ชม
                       ผู้เชียร์ก็ได้รับความสนุกสนานไปด้วย เพราะทีมที่มีความสามารถใกล้เคียงกันจะอยู่ในดิวิชั่นเดียวกัน และมี
                       ความสามารถในการเข้าถึงรางวัลมากขึ้น เพราะมีรางวัลลดหลั่นกันไปแต่ละดิวิชั่น ทั้งรางวัลที่เป็นเงินสด

                       ตอบแทนความทุ่มเทแรงกายแรงใจของนักกีฬา ผู้จัดการทีมและผู้ฝึกสอนโดยตรง และรางวัลโครงการที่สร้าง
                       ความภูมิใจในการพัฒนาท้องถิ่นให้กับนักกีฬา ซึ่งรูปแบบการให้รางวัลดังกล่าวมิได้ผิดระเบียบแต่อย่างใด  28

                             5)  มาตรฐานการตัดสินที่มีความโปร่งใสและให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย เนื่องจากมีกฎระเบียบ

                       ข้อปฏิบัติในการแข่งขัน การรักษามารยาทและการประท้วงที่ชัดเจน พร้อมกับมีคณะกรรมการฝ่ายพิจารณา
                       มารยาท วินัยและประท้วง ซึ่งมีบุคลากรภายนอกจากสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกระบี่เข้ามาร่วมพิจารณา
                       ตัดสินข้อพิพาทต่างๆ ที่เกิดขึ้น


                             6)  วิสัยทัศน์และนโยบายของผู้บริหารที่ให้ความสำคัญกับการกีฬา เล็งเห็นถึงความสำคัญในการ
                       ส่งเสริม สนับสนุนให้เยาวชนและประชาชนในจังหวัดกระบี่มีโอกาสแสดงออกถึงความเป็นเลิศด้านการกีฬา
                       เป็นแรงหนุนสำคัญที่ส่งผลให้การจัดการแข่งขันประสบผลสำเร็จ


                             7)  สถานการณ์ทางการเมืองที่ค่อนข้างมีเสถียรภาพ ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติมิได้สังกัด
                       พรรคการเมืองใด ต่างมาจากกลุ่มการเมืองอิสระ คือกลุ่มรักกระบี่ ส่งผลให้การทำงานเต็มไปด้วยความราบรื่น
                       ทั้งทีมผู้บริหารและฝ่ายสภาต่างก็ให้การสนับสนุนโครงการการจัดการแข่งขันกีฬาฟุตบอล “อบจ.กระบี่คัพ”

                       ต้านภัยยาเสพติดเป็นอย่างดี


                          อุปสรรคในการดำเนินโครงการและการแก้ปัญหา

                             อุปสรรคประการหนึ่งที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ประสบได้แก่ การให้รางวัลโครงการพัฒนา
                       ศักยภาพด้านการกีฬามูลค่า 500,000 บาท โดยได้รับการทักท้วงมาจากท้องถิ่นจังหวัดว่า โครงการมูลค่า

                       500,000 บาทนั้นไม่ถือว่าเกินศักยภาพของท้องถิ่น ส่งผลให้การแข่งขันครั้งที่ 7 (ปี พ.ศ. 2552) องค์การบริหาร
                       ส่วนจังหวัดกระบี่จะต้องแก้ไขปัญหาที่ได้รับการทักท้วง ด้วยการ “เพิ่มมูลค่าของรางวัลโครงการพัฒนา


                             27    เรื่องเดียวกัน.

                             28    ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร นักบริหารงานทั่วไป 7, สัมภาษณ์โดยผู้เขียน, 16 ธันวาคม 2551.
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95