Page 91 - kpi10607
P. 91

ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย




            2      ศักยภาพทางด้านกีฬา” เป็นจำนวน 10,000,000 บาท โดยในดิวิชั่น 1 รางวัลชนะเลิศ รางวัลรองชนะเลิศ

              สถาบันพระปกเกล้า   อันดับที่ 1 รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 จะได้รางวัลโครงการพัฒนาศักยภาพด้านกีฬารางวัลละ 1 โครงการ



                   มูลค่าไม่เกิน 3,000,000 บาท, 2,000,000 บาท และ 1,000,000 บาทตามลำดับ ในดิวิชั่น 2 รางวัลชนะเลิศและ
                   รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 จะได้รางวัลโครงการพัฒนาศักยภาพด้านกีฬารางวัลละ 1 โครงการ มูลค่าไม่เกิน

                   2,000,000 บาท และ 1,000,000 บาทตามลำดับ และในดิวิชั่น 3 รางวัลชนะเลิศจะได้รางวัลโครงการพัฒนา
                   ศักยภาพด้านกีฬารางวัลละ 1 โครงการ มูลค่าไม่เกิน 1,000,000 บาท รวมทีมที่จะได้รางวัลเป็นโครงการฯ

                   จำนวน 6 ทีมจากทั้งหมด 24 ทีม ส่วนรางวัลที่เป็นเงินสดนั้นยังคงเดิม เนื่องจากไม่ได้รับการทักท้วงหรือ
                   มีปัญหาในประเด็นนี้  29

                         ในด้านของการกำหนดตารางเวลาในการแข่งขัน พบว่าค่อนข้างมีปัญหา เนื่องจากนักกีฬาส่วนใหญ่เป็น

                   นักเรียน การจัดการแข่งขันขณะที่ยังอยู่ในช่วงเปิดเทอมจึงเป็นไปได้ยาก เพราะต้องมีการเก็บตัวฝึกซ้อม ซึ่ง
                   อาจจะทำให้เสียการเรียนได้ ประกอบกับหากกำหนดการแข่งขันล่าช้าคาบเกี่ยวกับช่วงฤดูฝนก็จะมีปัญหาเรื่อง
                   ฝนตก สนามการแข่งขันเละ เป็นอุปสรรคในการแข่งขัน และถ้ากำหนดการแข่งขันระดับอำเภอและระดับ
                   จังหวัดมีระยะเวลาห่างกันมาก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ ก็จะประสบปัญหาในเรื่องของงบประมาณ

                   ส่งผลให้การแข่งขันครั้งที่ 7 ประจำปี พ.ศ. 2552 ต้องกำหนดการแข่งขันระดับอำเภอให้อยู่ในช่วงเดือน
                   มีนาคม-เมษายน พ.ศ.2552 ซึ่งเป็นช่วงที่นักเรียนเริ่มปิดเทอมพอดี และเร่งการแข่งขันระดับจังหวัดให้เสร็จสิ้น

                   ภายในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 เพื่อเลี่ยงฤดูฝน  30

                         นอกจากนี้อุปสรรคสำคัญประการหนึ่งในการดำเนินการจัดการแข่งขัน ได้แก่ ความมีวินัย และความ
                   ซื่อสัตย์สุจริตของทีมที่เข้าร่วมแข่งขัน บางทีมอาศัยช่องว่างของระเบียบการแข่งขันมาปรับให้ตนเองได้เปรียบ

                   อยู่เสมอ ดังเช่น กรณีของ อบต. ก. (นามสมมติ) ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเมืองที่เข้ารอบระดับจังหวัด ดึงคนจาก
                   อบต. ข ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเมืองจริง แต่ผู้เล่นดังดังกล่าวกลับไม่ผ่านการแข่งขันระดับอำเภอมาก่อน ซึ่งถือ
                   เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ เพราะในระเบียบระบุว่าการดึงผู้เล่นจากทีมอื่นมานั้นจะต้องอยู่ในอำเภอ
                   เดียวกันและต้องผ่านการแข่งขันระดับอำเภอมาก่อนเท่านั้น ทีมคู่แข่งขันจึงประท้วงว่า อบต. ก ฝ่าฝืนระเบียบ

                   ส่งผลให้ อบต. ก ถูกตัดสิทธิการแข่งขัน 2 ปี ตามระเบียบข้อบังคับการแข่งขัน   บางทีมเข้ารอบมาแล้วแต่
                                                                                    31
                   กลับไม่ส่งทีมแข่งขัน ซึ่งก็ต้องถูกตัดสิทธิตามระเบียบ

                         ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งเป็นข้อผิดพลาดจากฝ่ายจัดการแข่งขัน โดยปกติผู้ตัดสินจะบันทึกการ

                   แข่งขันไว้ทั้งหมดว่าเกิดเหตุการณ์ใดขึ้นบ้างระหว่างการแข่งขัน นักกีฬาคนใดได้รับใบเหลืองทำผิดระเบียบวินัย
                   ก็จะต้องถูกตัดสิทธิหรือถูกคาดโทษ แต่บางกรณีผู้ตัดสินลืมบันทึกหรือรายงานผิด ทีมคู่แข่งขันก็สามารถยื่น

                   ประท้วงตามระเบียบได้  ส่วนกรณีของการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เข้าแข่งขัน บางครั้งตรวจพบภายหลัง
                                       32
                   หรือได้รับการประท้วงจากฝ่ายตรงข้ามว่าขาดคุณสมบัติ ซึ่งที่ผ่านมา คู่แข่งขันจะช่วยฝ่ายเจ้าหน้าที่ในการ
                   ตรวจสอบ ก็จะอิงระเบียบในการประท้วง ถ้าผิดจริงก็จะมีการประชุมกรรมการฝ่ายพิจารณามารยาท วินัยและ




                         29    สมศักดิ์ กิตติธรกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่, สัมภาษณ์โดยผู้เขียน, 10 มีนาคม 2552.
                         30    เรื่องเดียวกัน.
                         31    ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร นักบริหารงานทั่วไป 7, สัมภาษณ์โดยผู้เขียน, 12 มีนาคม 2552.

                         32    เรื่องเดียวกัน.
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96