Page 281 - kpi10440
P. 281

คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
                         ไม่เพียงเลือกผู้แทนเท่านั้น หากแต่มีความรู้สึกเป็นเจ้าของบ้านเมือง

                         ผูกพันกับส่วนรวม ร่วมดูแลและแก้ปัญหาของส่วนรวมด้วยตนเอง
                         ดังนั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในกรอบของประชาธิปไตยที่ประชาชน
                         ปกครองตนเอง หมายถึงการเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมแรงร่วมใจในการ
                         ทำงาน เพื่อบ้านเมือง เพื่อชุมชนและเพื่อท้องถิ่นของตนเองให้มากขึ้น
                         ประชาชนต้องถือว่าการเมืองการบริหารท้องถิ่นไม่ใช่เรื่องของนักการเมือง

                         คณะผู้บริหารหรือพนักงานท้องถิ่นเท่านั้น หากแต่เป็นเรื่องของประชาชน
                         เช่นกัน

                      2)  การบริหารองค์กรปกครองท้องถิ่นสมัยใหม่ต้องยึดหลักธรรมมาภิบาล
                         (Good Governance) ซึ่งการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นองค์ประกอบที่
                         สำคัญของหลักการดังกล่าว โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
                         1) หลักความโปร่งใส 2) หลักนิติธรรม 3) หลักความรับผิดชอบและ

                         4) หลักการมีส่วนร่วม มีการกล่าวกันว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็น
                         หลักการที่มีพลังสามารถขับเคลื่อนให้องค์ประกอบอื่นๆของธรรมาภิบาล
                         บรรลุผล เช่น หลักความโปร่งใสย่อมไม่เกิดขึ้นหากขาดภาคประชาชนที่
                         ตื่นตัวและมีส่วนร่วม ประกอบกับปัจจุบันตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย
                         หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมือง พ.ศ. 2546 ซึ่งประกอบ
                         ด้วยหลักการหรือเป้าหมาย 7 ประการ คือ 1) เกิดประโยชน์สุขของ

                         ประชาชน 2) เกิดสัมฤทธิ์ผลต่อภารกิจของรัฐ 3) มีประสิทธิภาพและเกิด
                         ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ 4) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินจำเป็น
                         5) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
                         6) ประชาชนได้รับอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความ
                         ต้องการ และ 7) มีการประเมินผลการปฏิบัติงาน ซึ่งหลักการเหล่านี้ให้

                         ความสำคัญกับประชาชนทั้งสิ้น ดังนั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนมีบท
                         บาทเป็นกลไกที่เสริมสร้างการบริหารจัดการที่ดีและการบริการสาธารณะที่
                         มีคุณภาพ




           2        สถาบันพระปกเกล้า
   276   277   278   279   280   281   282   283   284   285   286