Page 277 - kpi10440
P. 277
คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ยังยึดมั่นในหลักการการมีส่วนร่วมของ
ประชาชน และมุ่งทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติมากยิ่งขึ้น บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการ
ศึกษาบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
รวมทั้งข้อเสนอแนวทางการขับเคลื่อนให้เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมีผลในทางปฏิบัติ
รวมทั้งประเด็นพิจารณาเพื่อพัฒนาให้กลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ
ไม่ใช่เป็นเพียงเครื่องประดับยนต์หรือดาบกระดาษเท่านั้น
การส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่น ในที่นี้จะแบ่งออกเป็น
3 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย
1. ความหมายและแนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน กล่าวถึงความหมายและ
ประโยชน์ของการมีส่วนร่วม รวมทั้งความสำคัญของการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนต่อการปกครองท้องถิ่น
2. กฎหมายและการมีส่วนร่วมของประชาชน กล่าวถึงการกำหนดของ
รัฐธรรมนูญ กฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองท้องถิ่น และระเบียบต่างๆ เกี่ยว
กับรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน
3. ลักษณะการมีส่วนร่วมของประชาชน
4. การบริหารการจัดการการมีส่วนร่วม กล่าวถึงหลักการบริหารจัดการ
กระบวนการการมีส่วนร่วม เทคนิคการมีส่วนร่วมของประชาชนรูปแบบต่างๆ
รวมทั้งเงื่อนไขของความสำเร็จของการบริหารจัดการการมีส่วนร่วมของ
ประชาชน
9.1 ความหมายและแนวคิด
ของการมีส่วนร่วมของประชาชน
การมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation) หมายถึง การที่ประชาชน
เข้าไปร่วมกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวมอย่าง
2 0 สถาบันพระปกเกล้า