Page 282 - kpi10440
P. 282

คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
                         3)  การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นสิ่งจำเป็นในบริบทใหม่ของการบริหาร

                            องค์กรปกครองท้องถิ่น สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป ปัญหาสลับซับซ้อนขึ้น
                            ทางออกต้องการข้อมูลและความเห็นที่หลากหลายและรอบด้าน นอกจาก
                            นั้นด้วยกระแสประชาธิปไตยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาส่งผลให้ภาค
                            ประชาชนบางส่วนมีความตื่นตัวในทางการเมืองมากขึ้น มีการรวมกลุ่มทำ
                            กิจกรรมเพื่อผลประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นทั้งที่

                            เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจภาครัฐ ตัวอย่างเห็นได้ในหลาย
                            กรณี เช่น การคัดค้านเรื่องสถานที่ทิ้งขยะ ต่อต้านและประท้วงการออก
                            ใบอนุญาตสร้างโรงไฟฟ้า และการสร้างเขื่อน ประท้วงการย้ายตลาดหรือ
                            การเวนคืนที่ดินเพื่อการก่อสร้าง รวมทั้งการผลักไม่ให้มีการสร้างตึกสูง
                            และประท้วงการรื้อทิ้งอาคารโบราณ เรื่องราวเหล่านี้ดูเหมือนเป็นเรื่อง
                            ธรรมดาในช่วงระยะเวลา 4-5 ปีนี้ ซึ่งสะท้อนว่าหน่วยงานภาครัฐ รวมทั้ง
                            องค์กรปกครองท้องถิ่นไม่มีอำนาจอิสระตัดสินใจได้เต็มที่ ประชาชนที่ไม่

                            เห็นด้วยกับการกระทำของรัฐพร้อมที่แสดงความคิดเห็นหรือมีกิจกรรม
                            คัดค้าน ซึ่งส่งผลให้หลายโครงการไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ แต่ที่
                            เป็นปัญหามากขึ้นคือประชาชน กลุ่มต่างๆที่ตื่นตัวมีมุมมองและความเห็น
                            ต่อประเด็นต่างๆที่แตกต่างกัน แล้วองค์กรปกครองท้องถิ่นควรสนอง
                            ความต้องการของฝ่ายใด เช่น ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งต้องการให้มีการ

                            ตั้งโรงงานในชุมชน และสนับสนุนให้อบต.ออกใบอนุญาตสร้างอาคาร
                            ในขณะเดียวกันก็มีชาวบ้านอีกกลุ่มไม่ต้องการโรงงาน ห่วงปัญหา
                            สิ่งแวดล้อม ต้องการรักษาพื้นที่สำหรับการทำเกษตรกรรม ถ้าอบต.
                            อนุญาตสร้างโรงงาน ชาวบ้านกลุ่มนี้จะฟ้องศาลปกครอง สถานการณ์
                            ทำนองนี้เกิดมากขึ้นซึ่งส่งผลให้การบริหารท้องถิ่นเป็นเรื่องที่ซับซ้อนขึ้น
                            และผู้บริหารต้องหาสมดุลและหาข้อตกลงที่สมานฉันท์ ดังนั้นการมีส่วน

                            ร่วมเป็นกลไกที่จะป้องกันความขัดแย้งขณะเดียวกันเสริมสร้างความ
                            สมานฉันท์ในชุมชน





                                                              สถาบันพระปกเกล้า   2
   277   278   279   280   281   282   283   284   285   286   287