Page 280 - kpi10440
P. 280
คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
4) การเพิ่มความง่ายในการนำไปปฏิบัติ สร้างให้ประชาชนเกิดความรู้สึกเป็น
เจ้าของและมีความกระตือรือร้นในการช่วยให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
5) การมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นสามารถลดการเผชิญหน้าและความขัดแย้งที่
รุนแรงได้
6) ช่วยทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีความใกล้ชิดกับประชาชนและไวต่อความรู้สึก
ห่วงกังวลของประชาชน และเกิดความตระหนักในการตอบสนองต่อความ
กังวลของประชาชน
7) การพัฒนาความเชี่ยวชาญและความคิดสร้างสรรค์ของสาธารณชน ถือว่า
เป็นการให้การศึกษาชุมชน เพื่อเรียนรู้กระบวนการตัดสินใจและเป็นเวที
ฝึกผู้นำชุมชน
8) ช่วยทำให้ประชาชนสนใจประเด็นสาธารณะมากขึ้น เป็นการเพิ่มทุนทาง
สังคม และช่วยเสริมสร้างให้ประชาชนเป็นพลเมืองที่กระตือรือร้น
สอดคล้องกับการปกครองตามหลักประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
9.1.4 การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการปกครองท้องถิ่น
การมีส่วนร่วมของประชาชนถือว่าเป็นหัวใจของการบริหารจัดการองค์กร
ปกครองท้องถิ่นที่ขาดไม่ได้ ด้วยเหตุผลทั้งทางหลักการและการปฏิบัติ คือ
1) การปกครองท้องถิ่นอยู่บนพื้นฐานความคิดของประชาธิปไตยท้องถิ่น
(Local Democracy) ซึ่งในทางหลักการนั้นประชาธิปไตยท้องถิ่นควร
แตกต่างจากประชาธิปไตยระดับชาติ ในขณะที่ประชาธิปไตยระดับชาติ
เป็นประชาธิปไตยแบบตัวแทน ที่ประชาชนใช้อำนาจผ่านตัวแทน
ประชาชนมีบทบาททางการเมืองคือการไปเลือกผู้แทนที่ดี ประชาธิปไตย
ท้องถิ่นควรเป็นประชาธิปไตยที่ประชาชนปกครองตนเอง (Self
Government Democracy) ซึ่งหมายถึงระบบการปกครองที่ประชาชน
สถาบันพระปกเกล้า 2