Page 276 - kpi10440
P. 276

คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
















                      การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็น
                 หัวใจของการปกครองท้องถิ่น เหตุผล
                 สำคัญประการหนึ่ง คือ การปกครอง
                 ท้องถิ่นโดยหลักการหมายถึงการกระจาย
                 อำนาจทั้งการเมืองและการบริหารให้คนในชุมชนกำหนดทิศทางและดูแลแก้ปัญหาของ

                 ชุมชนโดยคนในชุมชนเอง ดังนั้นการสร้างองค์กรปกครองท้องถิ่น จึงมิใช่การกระจาย
                 อำนาจหน้าที่และบทบาทความรับผิดชอบ รวมทั้งความสามารถในการบริหารจัดการ
                 เท่านั้น หากแต่ยังหมายรวมถึงการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมโดยตรงใน
                 การเมือง การบริหารองค์กรปกครองท้องถิ่นอีกด้วย เป้าหมายปลายทางของการปกครอง
                 ท้องถิ่นจึงมิใช่การจัดบริการสาธารณะให้ได้มาตรฐานทัดเทียมหน่วยราชการส่วนกลาง

                 และภูมิภาค หากแต่เป็นการเสริมสร้างให้ประชาชนมีความเป็นเจ้าของชุมชน และมีส่วน
                 ร่วมอย่างกระตือรือร้นในการดูแลชุมชนร่วมกัน นั่นหมายถึงการส่งเสริมให้ประชาชน
                 ดำรงชีวิตตามวิถีประชาธิปไตยท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญต่อการพัฒนา
                 ประชาธิปไตยที่ยั่งยืน

                      รัฐธรรมนูญในฐานะกฎหมายแม่บทจึงเน้นให้เห็นความสำคัญและเปิดพื้นที่ของ

                 การมีส่วนร่วมของประชาชน ดังเห็นจากรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ
                 ของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น นอกจากในเรื่องของการกระจายอำนาจหน้าที่ ความรับ
                 ผิดชอบแล้วยังรวมทั้งการรองรับสิทธิของประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในการ
                 ปกครองท้องถิ่น การริเริ่มกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนทางตรงใหม่ๆ อาทิ เช่น การ
                 เสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นโดยประชาชน และการถอดถอนผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น


                                                              สถาบันพระปกเกล้า   2
   271   272   273   274   275   276   277   278   279   280   281