Page 272 - kpi10440
P. 272
คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
8.4 สรุป
รายได้ขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นไทยในปัจจุบัน ประกอบด้วยส่วน
สำคัญ 3 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นภาษีอากร
และค่าธรรมเนียมที่กฎหมายให้อำนาจ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บได้เอง
ส่วนที่สองเป็นภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมที่รัฐบาลเป็นผู้จัดเก็บแล้วจัดสรรบางส่วนให้
แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือส่งมอบให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งจำนวน
และส่วนที่สามคือ เงินอุดหนุน ในส่วนรายได้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บเองนั้น
กระบวนการขั้นตอนในการจัดเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมแต่ละประเภทมีกฎหมาย
เฉพาะกำหนดไว้ตั้งแต่ฐานภาษี อัตราการจัดเก็บ การสำรวจและการประเมิน ซึ่งองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ในส่วนของภาษีอากรที่รัฐจัดสรร
ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีทั้งประเภทที่รัฐส่งมอบให้ทั้งจำนวน และจัดแบ่งบาง
ส่วนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หลักเกณฑ์ในการจัดสรรให้แก่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทและแต่ละองค์กรนั้น มีคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์รวมทั้งในส่วนของเงินอุดหนุน
คณะกรรมการฯ ดังกล่าวก็มีหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์เช่นเดียวกัน
นับแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยมีรายได้
เพิ่มขึ้นอย่างมาก อันเนื่องมาจากการที่รัฐจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการกำหนด
แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
อย่างไรก็ตามแม้ว่าโดยองค์รวมการเพิ่มขึ้นของรายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี
แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น แต่ในส่วนที่เป็นรายละเอียดนั้น จะพบว่าองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังไม่สามารถพึ่งตนเองได้ โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วน
ตำบลซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีจำนวนมากและกระจายอยู่ในภูมิภาค มี
หน้าที่จัดบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานให้แก่ประชาชนในชนบท สามารถจัดเก็บภาษีอากร
ได้เพียงประมาณ ร้อยละ 5 ของรายได้รวมทั้งหมดเท่านั้น ทำให้ต้องรอรับเงินภาษีและ
สถาบันพระปกเกล้า 2