Page 283 - kpi10440
P. 283
คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
4) กฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในอดีตประชาชนมี
ส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นตนเองเพียงการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิก
สภาหรือเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง 4 ปี แต่เมื่อเลือกตั้งเสร็จสิ้น
ประชาชนแทบหมดความหมาย ไม่ค่อยมีส่วนร่วมอย่างอื่นๆ ถึงแม้
ประชาชนอยากมีส่วนร่วมก็พบว่าไม่มีช่องทางที่เปิดให้ประชาชนมีส่วน
ร่วมได้มากนัก หากแต่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันสร้างกติกาใหม่ด้านการมี
ส่วนร่วมหลายประการ ที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารงานขององค์กร
ปกครองท้องถิ่น ที่ต้องมีกระบวนการขั้นตอนรองรับกติกาใหม่เหล่านี้
เช่น การให้ประชาชนมีสิทธิที่จะถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหาร
ท้องถิ่น การให้ประชาชนมีสิทธิเสนอร่างกฎหมายท้องถิ่น การให้
ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขององค์กรปกครองท้องถิ่น และ
การให้ประชาชนมีสิทธิแสดงความคิดเห็นก่อนการอนุญาตหรือดำเนิน
โครงการหรือกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อประชาชน รายละเอียดจะ
กล่าวต่อไป
9.2 กฎหมายกับการมีส่วนร่วมของประชาชน
สืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2540 ได้มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการมี
ส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบต่างๆ เพื่อรับรองสิทธิของ
ประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมนั้น รัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2550 ก็เช่นเดียวกันได้นำ
ข้อความในรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2540 มาปรับใช้ โดยยังคงสาระสำคัญและได้
เพิ่มเติมประเด็นต่างๆ ในการมีส่วนร่วมของประชาชนให้ครบถ้วนรอบด้านมากยิ่งขึ้น เช่น
การลงประชามติท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2550 หมวด 14 การ
ปกครองส่วนท้องถิ่น ได้มีบทบัญญัติในมาตรา 285 - 287 เพื่อรับรองสิทธิในการมี
ส่วนร่วมของประชาชน โดยมีรายละเอียดรายมาตรา ดังนี้
2 สถาบันพระปกเกล้า