Page 151 - kpi10440
P. 151

คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
              6.5  หลักในการตราข้อบัญญัติท้องถิ่น

                   ในการตราข้อบัญญัติท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องยึดมั่นในหลักการ
              แห่งกฎหมาย 3 ประการ ดังนี้


                   1)  มีกฎหมายแม่บทหรือบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้อำนาจไว้อย่างชัดเจน

                     การตราข้อบัญญัติท้องถิ่น ต้องมีบทกฎหมายที่มีลำดับที่สูงกว่ากฎหมาย
              ระดับท้องถิ่นบัญญัติให้อำนาจไว้ เช่น พระราชบัญญัติที่จัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้อง
              ถิ่นสรวมถึงกฎหมายอื่นที่ให้อำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติท้องถิ่น
              เช่น พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 35 บัญญัติว่า “เพื่อประโยชน์ใน
              การควบคุมกำกับกิจการตลาดให้ราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจข้อกำหนดของท้องถิ่น”

                   2)  ตราข้อบัญญัติท้องถิ่นตามกรอบแห่งบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อำนาจ
              ไว้


                     การออกข้อบัญญัติท้องถิ่นไม่สามารถออกข้อบัญญัติได้เกินกว่าที่กฎหมาย
              แม่บทหรือบทบัญญัติให้อำนาจไว้ เช่น กฎหมายกำหนดให้ออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ว่าด้วย
              อัตราค่าธรรมเนียม ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ท้องถิ่นจะตราข้อบัญญัติอัตรา
              ค่าธรรมเนียมโดยจะกำหนดอัตราที่เกินกว่าอัตราในกฎกระทรวงไม่ได้ หากกระทำลงไป
              ข้อบัญญัติของท้องถิ่นฉบับนั้นก็ไม่มีผลบังคับใช้

                   3)  ตราข้อบัญญัติท้องถิ่นตามขั้นตอนและกระบวนการที่กฎหมายกำหนด

                     การตราข้อบัญญัติท้องถิ่น จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนและกระบวนการที่
              กำหนดเท่านั้น เช่น การตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด ต้องผ่านความเห็นชอบ

              จากสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัดก่อนแล้วจึงประกาศใช้ได้
              หากไม่เป์นไปตามขั้นตอนนี้ข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้นก็จะไม่มีผลบังคับใช้ เป็นต้น






           1        สถาบันพระปกเกล้า
   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156