Page 155 - kpi10440
P. 155
คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
ข้อบัญญัติท้องถิ่นได้ ทั้งนี้สามารถพิจารณากระบวนการตราข้อบัญญัติขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งกรุงเทพมหานคร องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วน
ตำบล ตลอดจนกระบวนการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นได้ตามลำดับ
ขั้นตอนในการตราข้อบัญญัติท้องถิ่นตามกฎหมายอาจแบ่งออกเป็น
4 ขั้นตอน คือ
2.1) ขั้นตอนการเสนอร่าง
การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะมีคณะ
กรรมการบริหารเป็นส่วนที่บริหารจัดการให้ภารกิจของราชการส่วนท้องถิ่นบรรลุผลต่อ
ประชาชนในท้องถิ่น กฎหมายจึงกำหนดให้ คณะกรรมการบริหารท้องถิ่น มีอำนาจในการ
เสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นได้ ในขณะเดียวกันสมาชิกสภาท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้แทนของ
ประชาชน มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งมีบทบาทในการรักษาผลประโยชน์ของ
ประชาชนกฎหมาย จึงกำหนดให้มีอำนาจในการเสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้นได้
นอกจากนี้ ด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ยังได้บัญญัติให้
ประชาชนมีสิทธิที่จะเสนอ “ร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น” ได้ด้วยตามบทบัญญัติมาตรา 287
“ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด มีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่ง
หนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิ์เข้าชื่อร้องขอต่อ
ประธานสภาท้องถิ่นเพื่อให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่นได้ คำร้องขอตาม
วรรคหนึ่งต้องจัดทำร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นด้วย” ซึ่งรายละเอียดในการปฏิบัติเป็นไปตาม
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2542
2.2) ขั้นตอนการพิจารณา
ในการพิจารณาร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น กฎหมายได้กำหนดให้เป็น
อำนาจของฝ่ายสภาท้องถิ่นที่จะพิจารณา เพราะโดยหลักการแล้ว “ประชาชนเท่านั้นที่จะ
มีอำนาจในการตรากฎหมาย เพื่อมาใช้บังคับประชาชนเอง” ทั้งนี้เพราะสมาชิกสภา
ท้องถิ่นเป็นผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในเขตพื้นที่นั้น สภาท้องถิ่นจึงเป็น
1 สถาบันพระปกเกล้า