Page 156 - kpi10440
P. 156
คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
องค์กรที่ชอบธรรม ที่จะมีอำนาจในการพิจารณาตราข้อบัญญัติท้องถิ่นในเขตท้องถิ่นนั้นๆ
2.3) ขั้นตอนการลงนามตราข้อบัญญัติท้องถิ่น
ในการตรากฎหมายทุกระดับชั้นต้องมีผู้ที่มีอำนาจในการตราเช่น
พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับ
สนองพระบรมราชโองการ เป็นต้น กฎหมายระดับท้องถิ่นก็เช่นกัน กฎหมายก็กำหนดให้
หัวหน้าผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เป็นผู้ตราโดยจะมีผู้มีอำนาจ
ในการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เป็นผู้อนุมัติ หรือนายอำเภอ แล้วแต่
กรณี
2.4) ขั้นตอนการประกาศใช้
เมื่อร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นผ่านกระบวนการต่างๆ ตามที่กฎหมาย
กำหนดแล้ว ในการประกาศใช้เพื่อให้มีผลใช้บังคับในเขตท้องถิ่นนั้น กฎหมายก็ได้
กำหนดวิธีการไว้ เพื่อให้มีหลักประกันว่าได้ประกาศให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป
เรียบร้อยแล้ว เช่น การกำหนดให้ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือกำหนดให้
ต้องติดประกาศโดยเปิดเผย ณ สำนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเวลา
ไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือ 15 วัน หรือ 30 วัน แล้วแต่กรณีซึ่งข้อบัญญัติท้องถิ่นมีหลายๆ
รูปแบบตามลักษณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ และมีขั้นตอนการ
บัญญัติหรือออกประกาศให้แตกต่างกัน
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากขณะนี้ได้มีพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร
ทางราชการ พ.ศ. 2540 ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วตามบทบัญญัติมาตรา 7(4) “(4) กฎมติ
คณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบ แบบแผนนโยบายและการตีความ
ทั้งนี้เฉพาะที่จัดให้มีขึ้นโดยมีสภาพอย่างกฎ เพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่
เกี่ยวข้อง” ต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา หากไม่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา มาตรา
8 บัญญัติว่า “ข้อมูลที่ต้องลงพิมพ์ตามมาตรา 7(4) ถ้ายังไม่ได้ลงพิมพ์ในราชกิจจา
นุเบกษา จะนำมาใช้บังคับในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ผู้ใดไม่ได้ เว้นแต่ผู้นั้นจะได้รู้ถึงข้อ
มูาลข่าวสารนั้นตามความเป็นจริงมาก่อนแล้วเป็นเวลาพอสมควร”
สถาบันพระปกเกล้า 1