Page 144 - kpi10440
P. 144
คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
ซึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน ซึ่งการพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติของวุฒิสภาจะพิจารณาเป็น 3
วาระ เช่นเดียวกับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร
4
3) พระราชกำหนด คือ กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารคือคณะรัฐมนตรี
เมื่อประกาศใช้แล้วมีผลบังคับทันที เช่นเดียวกับพระราชบัญญัติ แต่ต้องนำไปให้รัฐสภา
ให้ความเห็นชอบ หากรัฐสภาให้ความเห็นชอบพระราชกำหนดนั้นก็จะมีผลบังคับต่อไป
แต่หากรัฐสภาไม่ให้ความเห็นชอบ พระราชกำหนดฉบับนั้นก็จะสิ้นผลไป โดยหลักการ
แล้วฝ่ายบริหารมีหน้าที่บริหารประเทศ ไม่มีหน้าที่ในการตราหรือออกกฎหมายซึ่งเป็น
หน้าที่หลักของฝ่ายนิติบัญญัติ อย่างไรก็ตาม โดยความจำเป็นในบางกรณี รัฐธรรมนูญ
จึงกำหนดให้ฝ่ายบริหาร คือคณะรัฐมนตรีสามารถออกกฎหมายคือพระราชกำหนดได้
โดยทั่วไปพระราชกำหนดแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
(1) พระราชกำหนดทั่วไป คือ พระราชกำหนดที่คณะรัฐมนตรีประกาศใช้เมื่อ
เห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วน อันมิอาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อ
ประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัย
สาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศหรือป้องปัดภัยพิบัติ
สาธารณะ เมื่อคณะรัฐมนตรีได้ประกาศใช้พระราชกำหนดนั้นแล้ว จะต้อง
เสนอพระราชกำหนดนั้นต่อรัฐสภาโดยไม่ชักช้า ถ้าอยู่นอกสมัยประชุม
และการรอเปิดสมัยประชุมสามัญจะเป็นการชักช้า คณะรัฐมนตรีจะต้อง
ดำเนินการให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาอนุมัติ
หรือไม่อนุมัติ พระราชกำหนดโดยเร็ว
(2) พระราชกำหนดเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตรา คือ พระราชกำหนดที่
คณะรัฐมนตรีประกาศใช้ระหว่างสมัยประชุม กรณีที่มีความจำเป็นต้องมี
กฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรและเงินตรา ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณา
โดยด่วนและลับเพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินและจะต้องนำเสนอต่อ
ผู้แทนราษฎรภายใน 3 วัน นับแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา
4 ที่มาเดียวกับ 1.
สถาบันพระปกเกล้า 12