Page 80 - kpiebook67036
P. 80

79





                  ที่ช่วยอธิบายว่าเหตุใดในเวลาต่อมาในศตวรรษที่ 16-17 ชาวนาของสวีเดนจึงเป็นหนึ่งในสี่ฐานันดรของ

                  สภาฐานันดร (Riksdag) ที่เป็นสถาบันการเมืองระดับรัฐ   แม้ว่าพลังของมวลชนชาวนาในศตวรรษที่ 17
                                                                  195
                  เมื่อเปรียบเทียบกับตอนสมัยกลางจะถดถอยลงไปอย่างมาก อันเป็นผลของบริบทของการที่รัฐสวีเดน

                  เข้าสู่สงครามและพลังอภิชนที่เติบโตขึ้นแทน  196


                           อย่างไรก็ดี เมื่อเข้าสู่ปลายยุคกลาง สิทธิ์อ�านาจในนามของชุมชนดังกล่าวโดยเฉพาะในมิติ
                  ด้านตุลาการได้ถูกลดทอนอันเนื่องจากอัตราการเติบโตของการรู้หนังสือ ซึ่งส่งผลให้เกิดการขยายอ�านาจ

                  ของกษัตริย์และอภิชนผู้รู้หนังสือในการใช้อ�านาจตุลาการแทน  197


                           สอง สิทธิ์อ�ำนำจในกระบวนกำรตรำกฎหมำย


                           ในกฎหมายของแคว้น Uppland ระบุว่ากษัตริย์มีอ�านาจแค่เพียง “ยืนยัน” ร่างกฎหมายเท่านั้น
                                                                                                          198
                  แม้ว่าต่อมา เมื่อเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ อ�านาจในทางนิติบัญญัติดังกล่าวจะเหวี่ยงกลับมาอยู่ในมือกษัตริย์

                  สวีเดนมากขึ้นตามล�าดับ แต่ก็มิอาจปฏิเสธได้ว่าในยุคกลาง ชาวนาส่วนใหญ่มีส่วนส�าคัญในกระบวนการ
                  นิติบัญญัติของสวีเดน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้บริบทของการขึ้นครองราชย์ของยุวกษัตริย์ Magnus

                  Eriksson ที่มีสภาที่ปรึกษาแห่งแผ่นดิน (Council of the Realm) อนุมัติค�าขอแก้ไขกฎหมายของแคว้น
                  Sodermanland โดยอภิชนชั้นสูงที่มีความรู้ในทางกฎหมาย ที่อ้างว่าเป็นตัวแทนของมหาชนในแคว้น

                  ที่ได้มอบฉันทานุมัติ รวมถึงการอ้างหลักการ quod omnes tangit (สิ่งใดเกี่ยวข้องกับทุกคนจะต้องได้รับ
                  การเห็นชอบจากทุกคนเช่นกัน) ในการแก้ไขกฎหมาย ซึ่งผลลัพธ์ที่ตามมาจากการที่กลุ่มอภิชนอ้างมหาชน

                  เพื่อดึงอ�านาจในการตรากฎหมายมาจากกษัตริย์ คือการขับเน้นความส�าคัญในอ�านาจนิติบัญญัติของ
                  คนส่วนใหญ่ในนามของชุมชน   นอกจากนี้ค�าสัตย์ปฏิญาณของยุวกษัตริย์ดังกล่าวยังระบุเน้นสิทธิ์อ�านาจ
                                            199
                  ในทางนิติบัญญัติของมหาชน จากการระบุว่า “กษัตริย์จะต้องรักษา เสริมสร้าง และปกป้องกฎหมายดั้งเดิม
                  ทั้งปวงของสวีเดนที่บรรดาสามัญชนได้ให้การยอมรับผ่านเจตจ�านงเสรีของพวกเขา และเป็นกฎหมาย

                  ที่พวกเขาได้มอบฉันทานุมัติ เพื่อที่จะมิให้มีกฎหมายแปลกปลอมใดมาแทนที่กฎหมายที่แท้จริงได้” 200



                  195   Mia Korpiola, “Not without the consent and goodwill of the common people: the community as a legal

                  authority in Medieval Sweden” The Journal of Legal History, Vol. 35, 2 (2014): 102.
                  196   Mia Korpiola, “Not without the consent and goodwill of the common people: the community as a legal
                  authority in Medieval Sweden” The Journal of Legal History, Vol. 35, 2 (2014): 103.
                  197   Mia Korpiola, “Not without the consent and goodwill of the common people: the community as a legal
                  authority in Medieval Sweden” The Journal of Legal History, Vol. 35, 2 (2014): 116.
                  198   Mia Korpiola, “Not without the consent and goodwill of the common people: the community as a legal

                  authority in Medieval Sweden” The Journal of Legal History, Vol. 35, 2 (2014): 109.
                  199   Mia Korpiola, “Not without the consent and goodwill of the common people: the community as a legal
                  authority in Medieval Sweden” The Journal of Legal History, Vol. 35, 2 (2014): 111.
                  200   Mia Korpiola, “Not without the consent and goodwill of the common people: the community as a legal
                  authority in Medieval Sweden” The Journal of Legal History, Vol. 35, 2 (2014): 112.
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85