Page 166 - kpiebook67026
P. 166

165



               การรับรองเพศสภาพบนพื้นฐานของการก�าหนดเจตจ�านงของตนเองนั้นยังมีมาตรฐาน
               ในการคุ้มครองสิทธิของสตรี และสร้างหลักประกันในความเท่าเทียมระหว่างเพศ

               ในระดับสูง ซึ่งการปรากฏถึงหลักฐานของการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือมีเจตนากระท�า
               ความผิดในทางอาญาดังกล่าวนี้เอง ย่อมเป็นข้อสนับสนุนได้อย่างดีว่า การก�าหนด

               เพศสภาพตามเจตจ�านงของบุคคลนั้นไม่ได้เป็นการเบียดบังหรือเป็นภัยต่อพื้นที่สตรี
               และยังเป็นการสนับสนุนสร้างความเท่าเทียมระหว่างเพศให้เกิดขึ้นภายในรัฐอีกด้วย 187


                      อย่างไรก็ดี มีการศึกษาจ�านวนหนึ่งที่พยายามให้ข้อเสนอแนะ และข้อค�านึง
               ในมิติทางสังคมวัฒนธรรม ในลักษณะของการถูกภาพเหมารวม และภาพตายตัว

               ของความเป็นเพศที่ได้รับการรับรอง กล่าวคือ สังคมส่วนใหญ่มักมีภาพตายตัว และ
               บรรทัดฐานทางสังคมที่คาดหวัง และมอบหมายบทบาทหน้าที่ให้กับผู้หญิงที่แตกต่าง

               และไม่เท่าเทียมกับผู้ชายหรือเพศอื่น ๆ ส่งผลให้การรับรองที่เกิดขึ้นอาจไปยัดเยียด
               หรือบรรจุความไม่เท่าเทียมนั้น 188


                      อีกประเด็นที่มีความน่ากังวลในระดับภูมิภาค นั่นคือ แม้ในระดับประเทศ
               จะมีกฎหมายที่รับรองเพศสภาพ แต่ในระดับภูมิภาคของสหภาพยุโรป ก็ยังพบว่า

               ในบางประเทศยังขาดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนและเป็นมาตฐานเดียวกันในการให้
               การยอมรับรับรองเพศสภาพอย่างแท้จริง ดังแสดงได้จากกรณีการเคลื่อนย้ายของ

               ประชากรในประเทศข้ามไปมาในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป และชัดเจนมากขึ้น
                                                                           189
               หากประเทศปลายทางเหล่านั้นมีกฎหมายที่ควบคุมชื่อบุคคลให้ตรงกับเพศ


                     4.4.3 ประเทศไอซ์แลนด์


                      ผลจากการส�ารวจพบว่าในประเทศไอซแลนด ไม่ปรากฏรายงานว่ามีผู้ใช้สิทธิ
               โดยไม่สุจริตหรือมีเจตนากระท�าความผิดในทางอาญา และยังพบว่าประเทศที่ให้
               การรับรองเพศสภาพบนพื้นฐานของการก�าหนดเจตจ�านงของตนเองนั้นยังมีมาตรฐาน


               187    Richard Köhler, Self-determination models in Europe: Practical experiences.
               TGEU, 2022, p.21.
               188    UNECE, Gender equality in ageing societies, Policy Brief on Ageing No.23,
               March 2020.
               189    Silvan Agius & Richard Köhler, The Trans Crossroads: Trans People’s EU
               Employment Rights and National Gender Recognition Laws, December 2014.
   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171