Page 162 - kpiebook67026
P. 162
161
แม้ว่ากฎหมายของประเทศมอลตาให้การยอมรับถึงการมีอัตลักษณทางเพศ
ตามเจตจ�านงของตนเองได้ (process of self – determination) แต่อย่างไรก็ตาม
ในกรณีที่บุคคลมีความประสงคจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลเพศในใบสูติบัตรใหม่อีกครั้ง
หลังจากที่มีการยื่นค�าร้อง เพื่อขอเปลี่ยนแปลงเพศตามกฎหมายฉบับนี้ไปแล้ว
ย่อมสามารถกระท�าได้อีกเพียงครั้งเดียวโดยอาศัยค�าสั่งจากศาลเท่านั้น (modified
again by a court order) โดยในช่วงปีค.ศ. 2015 – 2017 มีผู้มายื่นค�าร้องขอต่อศาล
เพื่อเปลี่ยนแปลงเพศสภาพใหม่ซ�้าอีกจ�านวน 3 ราย 179
4.3.3 ประเทศไอซ์แลนด์
ตามกฎหมายว่าด้วยการก�าหนดเจตจ�านงในเรื่องเพศสภาพ (Act on Gender
Autonomy) ของประเทศไอซแลนด ได้ก�าหนดข้อจ�ากัดอ�านาจในการจดทะเบียน
เพื่อรับรองเพศสภาพของบุคคลเอาไว้ ในกรณีที่ผู้นั้นได้ยื่นค�าร้องเพื่อใช้สิทธิ
ในการก�าหนดเพศสภาพตามเจตจ�านงของตนเองเป็นครั้งแรกตามกฎหมายฉบับนี้แล้ว
หากประสงคจะท�าการเปลี่ยนแปลงใหม่อีกครั้ง กฎหมายฉบับนี้ก�าหนดไว้ว่า
การจดทะเบียนเพื่อเปลี่ยนแปลงเพศสภาพตามกฎหมายฉบับนี้พร้อมกับการเปลี่ยน
ชื่อตัว จะได้รับการอนุญาตเพียงครั้งเดียว เว้นเสียแต่ว่าจะเหตุผลอันชอบธรรมอันเกิด
จากสถานการณพิเศษ โดยบุคคลนั้นอาจยื่นค�าร้องขอเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียน
เพศสภาพครั้งใหม่โดยท�าเป็นหนังสือยื่นต่อนายทะเบียนเพื่อพิจารณาเหตุผลตาม
ค�าร้องขอนั้น ข้อจ�ากัดตามที่ได้กล่าวมานั้นจะ ไม่น�ามาใช้กับบุคคลที่มีอายุต�่ากว่า
18 ปี 180
ภายหลังจากการมีกฎหมายว่าด้วยการก�าหนดเจตจ�านงในเรื่องเพศสภาพ
(Act on Gender Autonomy) ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2019 และ
ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมจนถึงค.ศ. 2020 โดยนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2020
179 Human Rights Directorate and Richard Köhler, statistics on self-determination
law from Malta (email exchange), August – September 2020 in Richard Köhler,
Self-determination models in Europe: Practical experiences. TGEU, 2022, p.19.
180 Article 7 of Act on Gender Autonomy No 80 /2019 as amended by Act
No. 159/2019, No. 152/2020 and No. 154/2020