Page 161 - kpiebook67026
P. 161
160 ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์
ค.ศ. 2012 (Law No.26.743) ได้ก�าหนดให้การด�าเนินการเป็นไปตามกระบวนการ
พิจารณาทางปกครองที่เป็นไปโดยง่าย อย่างไรก็ดี หากบุคคลนั้นประสงคจะใช้สิทธิ
อีกครั้งหนึ่ง ตามมาตรา 8 ของกฎหมายว่าด้วยอัตลักษณทางเพศสภาพ ค.ศ. 2012
(Law No.26.743) ได้บัญญัติว่าการบันทึกเกี่ยวกับการแก้ไขข้อมูลที่เกิดขึ้นภายใต้
กฎหมายฉบับนี้ สามารถกระท�าได้เพียงครั้งเดียว และสามารถขอให้มีการแก้ไขอีกครั้งได้
ก็แต่โดยอาศัยอ�านาจของศาล ดังนั้น สิทธิในการก�าหนดเพศสภาพตามเจตจ�านงของ
บุคคลในครั้งที่สองจึงตกอยู่ภายใต้การตีความขององคกรตุลาการ ซึ่งปัจจุบันแนวทาง
การปรับใช้ของศาลในแต่ละแห่งยังไม่มีความสอดคล้องเป็นไปในทิศทางอย่างเดียวกัน
และในบางคดีศาลได้วางหลักคุ้มครองสิทธิของบุคคลคลอบคลุมมากกว่าที่ได้บัญญัติไว้
ในกระบวนพิจารณาทางปกครองส�าหรับเรื่องดังกล่าว
2. ข้อจ�ากัดด้านเวลาในการใช้สิทธิ จะเห็นได้ว่ากฎหมายว่าด้วยอัตลักษณ
ทางเพศสภาพ ค.ศ. 2012 (Law No.26.743) ไม่ได้ก�าหนดเวลาสิ้นสุดของการใช้สิทธิ
ในการก�าหนดเพศสภาพตามเจตจ�านงของบุคคลไว้ การใช้สิทธิดังกล่าวจึงอาจกระท�าได้
ตลอดชีวิตของบุคคลนั้น
3. กระบวนการพิจารณาส�าหรับการยื่นค�าร้องในครั้งที่สองและผลที่เกิดขึ้น
ส�าหรับการยื่นค�าร้องเพื่อใช้สิทธิในการก�าหนดเพศสภาพตามเจตจ�านงของบุคคล
ในครั้งแรกนั้น กฎหมายฉบับนี้ก�าหนดให้ต้องกระท�าโดยง่ายและได้รับการยกเว้น
ค่าธรรมเนียม อย่างไรก็ตาม ส�าหรับกระบวนการยื่นค�าร้องในครั้งที่สองและผล
การพิจารณาย่อมขึ้นกับองคกรตุลาการ ซึ่งปัจจุบันการวางหลักของศาลในแต่ละคดี
ยังไม่เป็นไปในทิศทางอย่างเดียวกัน
4.3.2 ประเทศมอลตา
ภายหลังจากการประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยอัตลักษณทางเพศ การแสดงออก
ทางเพศ และคุณลักษณะทางเพศ ค.ศ. 2015 โดยนับตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 2015
- เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2022 พบว่ามีผู้มายื่นค�าร้องเพื่อขอรับรองเพศสภาพและ
ให้การรับรองตามค�าร้องขอรวมทั้งสิ้น 163 ราย
178
178 Richard Köhler, Self-determination models in Europe: Practical experiences.
TGEU, 2022, p.17.