Page 346 - kpiebook67020
P. 346
345
แข่งขันทางการค้าของสหรัฐอเมริกามักจะถูกเรียกว่า Anti-trust Law โดยกฎหมาย
ฉบับนี้ก�าหนดให้ (1) พฤติกรรมร่วมกันจ�ากัดการแข่งขันโดยสัญญา (contract,
combination or conspiracy) ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่า Cartel หรือการร่วมกันจ�ากัด
การแข่งขันในการประกวดราคา (bid-riggings) และ (2) พฤติกรรมการใช้สถานะของ
การเป็นผู้ผูกขาดโดยไม่ชอบธรรม (monopolization) หรือพฤติกรรมการพยายาม
เป็นผู้ผูกขาด (attempt to monopolize) เป็นการกระท�าความผิดทางอาญา
ที่ร้ายแรง (felony) ขณะเดียวกันญี่ปุ่น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการบังคับให้
ญี่ปุ่นตรากฎหมายแข่งขันทางการค้าเพื่อท�าลายระบบการผูกขาดทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น
ในปี ค.ศ.1947 โดยน�าต้นแบบมาจากกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของสหรัฐอเมริกา
เรียกว่า กฎหมายป้องกันการผูกขาด (The Antimonopoly Act) เพราะเชื่อว่า
กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ ได้แก่ กลุ่มบริษัท Mitsubishi กลุ่มบริษัท Mitsui กลุ่มบริษัท
Sumitomo เป็นต้น อยู่เบื้องหลังการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 ของรัฐบาลทหาร
ของญี่ปุ่น เป็นต้น (ศักดา ธนิตกุล และคณะ, 2560)
ในประเทศไทยมีการตราพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542
ในสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย ซึ่งถือเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่มีการก�าหนดกฎหมาย
แข่งขันทางการค้าโดยแก้ไขมาจากพระราชบัญญัติก�าหนดราคาสินค้าและป้องกัน
การผูกขาด พ.ศ.2522 เหตุผลในการตราพระราชบัญญัติฉบับนี้เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์
เกี่ยวกับการป้องกันการผูกขาด เพื่อให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการป้องกันการกระท�า
อันเป็นการผูกขาด ลดหรือจ�ากัดการแข่งขันในการประกอบธุรกิจอย่างเป็นระบบ
ส่งเสริมให้เกิดการประกอบธุรกิจที่ด�าเนินไปอย่างเสรีและป้องกันไม่ให้เกิดการกระท�า
อันไม่เป็นธรรมในการประกอบธุรกิจ พระราชบัญญัตินี้จึงมีเจตนารมณ์ที่สอดคล้อง
กับหลักสากล เพื่อก�ากับดูแลโครงสร้างตลาดและขนาดการแข่งขันทางการค้าให้อยู่
ในระดับที่เหมาะสมและก�ากับดูแลพฤติกรรมที่เป็นการให้ผู้ประกอบธุรกิจด�าเนินธุรกิจ