Page 345 - kpiebook67020
P. 345
344 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
ด้วยเหตุจากปัจจัยดังกล่าวมาแล้ว จะเห็นว่าในปัจจุบัน เพื่อให้สามารถ
ตอบสนองความต้องการสินค้าและบริการของประชากรได้เต็มที่ การผลิตจึงจ�าเป็น
ต้องเป็นการผลิตในระดับโรงงานอุตสาหกรรม เพราะสามารถผลิตสินค้าได้จ�านวนมาก
และเป็นที่แน่นอนว่าการผลิตในลักษณะนี้ ผู้ที่สามารถด�าเนินการจึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจ
ขนาดใหญ่ ที่มีความสามารถในการจ้างแรงงานจ�านวนมาก ซื้อเครื่องจักรที่ทันสมัย
หรือซื้อปัจจัยต้นทุนผลิตด้านต่าง ๆ ดังนั้นผู้ประกอบธุรกิจขนาดใหญ่จึงมีโอกาส
ในการท�าการค้ามากกว่าผู้ประกอบการในระดับชุมชน ผู้ประกอบการรายย่อย
หรือบุคคลทั่วไป เมื่อการแข่งขันมีแนวโน้มว่ากลุ่มทุนมีโอกาสที่จะมีส่วนแบ่ง
ในการตลาดมากกว่า ผู้ประกอบการประเภทอื่น ๆ เพื่อป้องกันการชี้น�าทิศทาง
ของตลาด และเกรงว่าจะเกิดเหตุการณ์การผูกขาดด้านราคา และน�าไปสู่การลดทอน
ความหลากหลายของสินค้า คุณภาพสินค้าและบริการ ในหลายประเทศรวมทั้ง
ประเทศไทยจึงมีมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น โดยยังคงให้มี
การแข่งขันด้านการค้าโดยเสรี แต่รัฐยังท�าหน้าที่ควบคุมคุณภาพผู้ประกอบการรายใหญ่
โดยไม่ให้โอกาสที่ตัวเองมีสามารถผูกขาด และสามารถชี้น�าตลาดแบบเบ็ดเสร็จได้
จะเห็นว่ามาตรการของรัฐดังกล่าว นอกจากเป็นการป้องกันไม่ให้ประกอบการรายใหญ่
มีอ�านาจเหนือตลาดแล้ว โอกาสในการแข่งขันผู้ประกอบการรายย่อยมีมากขึ้น
เพราะนอกจากปัจจัยเรื่องการผลิตแล้ว สิ่งที่ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถน�ามา
แข่งขันกับผู้ประกอบการรายใหญ่ได้ จึงเป็นเรื่องคุณภาพการบริการ และคุณภาพสินค้า
ซึ่งการแข่งขันลักษณะนี้ผู้ที่ได้ประโยชน์ก็คือ ประชาชนผู้บริโภคนั่นเอง
หลายประเทศทั่วโลกได้มีการตรากฎหมายการแข่งขันทางการค้าเพื่อให้เกิด
การแข่งขันที่เป็นธรรมในสังคม ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา กฎหมายการแข่งขัน
ทางการค้ามีผลบังคับใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1891 เนื่องจากมีธุรกิจรายใหญ่ที่จัดตั้ง
องค์กรธุรกิจเป็น Trust ผูกขาดธุรกิจที่ส�าคัญ เช่น น�้ามัน ยาสูบ น�้าตาล ท�าให้กฎหมาย