Page 291 - kpiebook67020
P. 291
290 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
การตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อจัดท�ารัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับว่า “รัฐสภามีหน้าที่และ
อ�านาจจัดท�ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ โดยต้องให้ประชาชนผู้มีอ�านาจสถาปนารัฐธรรมนูญ
ได้ลงประชามติเสียก่อนว่าประชาชนประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่
และเมื่อจัดท�าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้ว ต้องให้ประชาชนลงประชามติ
เห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง” (ศาลรัฐธรรมนูญ, 2564ข)
และในวันที่ 17 มีนาคม 2564 ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และ
เพิ่มหมวด 15/1 ที่เปิดทางให้มีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อจัดท�ารัฐธรรมนูญใหม่
ทั้งฉบับ ไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา โดยผลการลงมติ เห็นชอบ 208 เสียง
(ส.ส. 206 คน และ ส.ว. 2 คน) ไม่เห็นชอบ 4 เสียง (ส.ว. ทั้ง 4 คน) งดออกเสียง
94 เสียง (ส.ส. 10 คน และ ส.ว. 84 คน) และไม่ประสงค์ลงคะแนน 136 เสียง (ส.ส.
9 คน และส.ว. 127 คน) (BBC Thai, 2564จ) ท�าให้ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนี้ตกไป
ในวันที่ 20 มีนาคม 2564 กลุ่ม REDEM ได้นัดชุมนุมบริเวณท้องสนามหลวง
หน้าพระบรมมหาราชวัง ซึ่งต�ารวจได้น�าตู้คอนเทนเนอร์มาปิดเส้นทางสัญจรและ
วางลวดหีบเพลงตั้งแต่ช่วงเช้าก่อนหน้าที่การชุมนุมจะเริ่มขึ้น ซึ่งยังไม่ทันที่จะได้เริ่ม
กิจกรรม ต�ารวจได้ปฏิบัติการสลายการชุมนุมตั้งแต่ช่วง 19.00 น. มีการใช้รถฉีดน�้า
ยิงกระสุนยางและแก๊สน�้าตาเข้าหาฝั่งผู้ชุมนุม และเกิดการปะทะอย่างดุเดือดในอีก
หลายจุด จนกระทั่งเวลา 23.00 น. เจ้าหน้าที่ต�ารวจได้เข้าเคลียร์พื้นที่การชุมนุม
ศูนย์เอราวัณรายงานว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บน�าส่งโรงพยาบาล 19 ราย เป็นเจ้าหน้าที่
11 นาย ประชาชน 8 คน โดยในจ�านวนนี้มีสื่อมวลชนที่ได้รับบาดเจ็บด้วย (PPTV, 2564)
ต่อมาในวันที่ 24 มีนาคม 2564 กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม
ได้นัดหมายชุมนุมที่แยกราชประสงค์ แกนน�าปราศรัยโจมตีการท�างานของรัฐบาล
และเรียกร้องให้ปล่อยตัวแกนน�าที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจ�า รวมถึงเรียกร้องให้ยกเลิก