Page 287 - kpiebook67020
P. 287
286 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
“คณะราษฎร 2563” ได้จัดชุมนุมใหญ่ขึ้นที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในวันที่
14 ตุลาคม 2563 ถึงแม้ว่าจะมีการรื้อเวทีโดยต�ารวจตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2563
แต่ผู้ชุมนุมได้เคลื่อนขบวนไปปักหลักค้างคืนที่บริเวณท�าเนียบรัฐบาล ก่อนที่แกนน�า
ผู้ชุมนุมจะประกาศยุติการชุมนุมในช่วงเช้ามืดของวันที่ 15 ตุลาคม 2563
เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกสลายการชุมนุมโดยต�ารวจ ก่อนที่ พล.อ.ประยุทธ์ จะประกาศ
สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และมีการเข้าสลาย
การชุมนุมโดยต�ารวจในช่วงเช้ามืด แกนน�าผู้ชุมนุม 3 คน ได้แก่ นายอานนท์ น�าภา,
นายพริษฐ์ ชีวารักษ์ และนางสาวปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ถูกจับกุม ก่อนที่ในช่วงเย็น
จะมีการนัดชุมนุมกันอีกครั้งบริเวณแยกราชประสงค์ (กรุงเทพธุรกิจ, 2563) และ
ในช่วงเดือนตุลาคมนี้เองที่สถานการณ์ชุมนุมเริ่มมีความตึงเครียดมากขึ้น ในวันที่
16 ตุลาคม 2563 คณะราษฎร 2563 ได้นัดชุมนุมที่แยกปทุมวันในช่วงเย็น ซึ่งต�ารวจ
ได้ประกาศผ่านเครื่องขยายเสียงให้ยุติการชุมนุม แต่ไม่เป็นผล จนในที่สุดต�ารวจ
ได้เริ่มสลายการชุมนุมโดยฉีดน�้าแรงดันสูงใส่ผู้ชุมนุมและเข้ากระชับพื้นที่บริเวณ
ถนนพระราม 1 ถนนพญาไท และยึดพื้นที่แยกปทุมวันได้ส�าเร็จ (BBC Thai, 2563ค)
ในวันต่อมา 17 ตุลาคม 2563 คณะราษฎร 2563 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นกลุ่ม “ราษฎร”
เพื่อสะท้อนการชุมนุมที่ไม่มีแกนน�า เพราะแกนน�าหลายคนถูกจับกุม โดยจัดการชุมนุม
ในรูปแบบแฟลชม็อบในหลายจุดในพื้นที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด (BBC Thai,
2563ข) และต่อมาได้มีการจัดแฟลชม็อบขึ้นอีก ในวันที่ 18 ตุลาคม 2563 โดยมี
จุดชุมนุมใหญ่ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและแยกอโศก เป็นการชุมนุมแบบไม่มีแกนน�า
และมีการจัดการที่ชัดเจนมากขึ้น เช่น การสื่อสารด้วยภาษามือ การป้องปากบอกต่อ
การสวมชุดสีด�า การใช้แอปพลิเคชันเทเลแกรมในการแจ้งข่าวสาร (BBC Thai, 2563ก)