Page 288 - kpiebook67020
P. 288

287




                  2564: การยกระดับการชุมนุม การสลายการชุมนุม และการด�าเนินคดี

                  การชุมนุมทางการเมืองของม็อบการเมืองคนรุ่นใหม่ได้หยุดพักไปช่วงเวลาหนึ่ง

           หลังจากการระบาดของโควิด-19 อีกระลอกหนึ่งในช่วงปลายปี 2563 ก่อนที่จะกลับมา

           ชุมนุมอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 โดยก่อนหน้าที่จะเกิดการชุมนุมนั้น ในวันที่
           9 กุมภาพันธ์ 2564 อัยการมีค�าสั่งฟ้อง 4 แกนน�าและแนวร่วมกลุ่มราษฎร ได้แก่
           นายพริษฐ์ ชีวารักษ์ หรือเพนกวิน, นายอานนท์ น�าภา, นายปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม

           หรือหมอล�าแบงค์ และนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข โดยในคดีชุมนุมม็อบแฟสต์

           มีผู้ต้องหารายเดียว คือ นายพริษฐ์ ในข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามประมวล
           กฎหมายอาญามาตรา 112, ยุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และ
           ฝ่าฝืนพรก. ฉุกเฉิน ส่วนคดีชุมนุม 19-20 กันยายน 2563 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

           ท่าพระจันทร์ ในข้อหาตาม ม.112, ม.116, ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปฯ ป.อาญา

           ม.215, ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ, ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, กีดขวางทางสาธารณะฯ,
           ร่วมกันกีดขวางการจราจรฯ, ตั้งวางวัตถุบนถนนอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายฯ, ท�าลาย
           โบราณสถานฯ, ท�าให้เสียทรัพย์ฯ และร่วมกันโฆษณาเครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับ

           อนุญาตฯ รวม 11 ข้อหา (กรุงเทพธุรกิจ, 2564ข) นับเป็นหมุดหมายของการด�าเนินคดี

           แกนน�าผู้ชุมนุม รวมถึงการน�ากฎหมายอาญามาตรา 112 มาบังคับใช้อีกครั้งหนึ่ง
           ต่อมา ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 กลุ่มราษฎรได้นัดชุมนุมอีกครั้ง ในชื่อกิจกรรม
           “รวมพลคนไม่มีจะกิน ตีหม้อไล่เผด็จการ” ที่สกายวอล์กปทุมวัน ก่อนที่เวลาต่อมา

           รุ้ง ปนัสยา แกนน�ากลุ่มราษฎรจะน�าผู้ชุมนุมเคลื่อนขบวนไปยัง สน.ปทุมวัน ต่อมา

           เกิดเหตุปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนกับผู้ชุมนุม และมีเสียงคล้ายระเบิด
           ดังขึ้น 4 ครั้ง และมีกระป๋องแก๊สน�้าตาตกในที่เกิดเหตุ (Workpoint Today, 2564)
   283   284   285   286   287   288   289   290   291   292   293