Page 289 - kpiebook67020
P. 289
288 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564 กลุ่มราษฎรได้นัดชุมนุมอีกครั้ง ในชื่อกิจกรรม
“นับ 1 ถึงล้าน คืนอ�านาจให้ประชาชน” โดยจัดกิจกรรมปราศรัยและห่มผ้าแดง
พร้อมเขียนข้อความถึงผู้มีอ�านาจรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ก่อนที่จะเคลื่อนขบวน
ไปศาลหลักเมือง ก่อนที่แกนน�าจะประกาศยุติการชุมนุม ผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งทยอยออกจาก
พื้นที่ แต่ยังมีผู้ชุมนุมบางส่วนที่ไม่เห็นด้วยกับการยุติการชุมนุมและยังคงยืนสังเกตการณ์
หน้าแนวต�ารวจอยู่ ในเวลาต่อได้มีเสียงพลุและเสียงระเบิดดังขึ้นหลายครั้ง จนต�ารวจ
ประกาศว่าหากไม่ยุติการชุมนุมจะด�าเนินการตามกฎหมาย ก่อนที่ต�ารวจควบคุมฝูงชน
จะเข้าสลายการชุมนุมและมีการปะทะกันในหลายจุด มีรายงานว่ามีผู้ชุมนุมประมาณ
20 รายได้รับบาดเจ็บและถูกน�าส่งโรงพยาบาล (ประชาไท, 2564) นอกจากนี้
ยังปรากฏคลิปวิดีโอในสื่อสังคมออนไลน์มีแพทย์อาสาถูกต�ารวจรุมท�าร้าย ซึ่งกลายเป็น
ประเด็นวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง จนเกิดแฮชแท็ก #ต�ารวจกระทืบหมอ ในสื่อ
สังคมออนไลน์ (เดลินิวส์, 2564ค)
ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 กลุ่มราษฎร น�าโดย นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา
หรือไผ่ ดาวดิน พร้อมด้วยแนวร่วมกลุ่ม People Go Network จัดกิจกรรม
“เดินทะลุฟ้า” เดิน 247.5 กิโลเมตร จากนครราชสีมาถึงกรุงเทพฯ เพื่อขับไล่รัฐบาล
และเรียกร้องให้ปล่อยตัวแกนน�าคณะราษฎร 4 คนที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจ�า โดยเริ่มต้น
เดินจากลานอนุสรณ์วีรชนคนโคราช ข้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา
ทั้งนี้ ก่อนเดินขบวนได้มีการอ่านแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลปล่อยตัวแกนน�าราษฎร
4 คน และข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาและพวก ต้องลาออก,
ให้มีการเปิดประชุมสมัยวิสามัญและแก้รัฐธรรมนูญตามข้อเสนอประชาชน, และ
ปฏิรูปสถาบัน (มติชน, 2564จ) โดยใช้เวลา 17 วัน ก่อนที่จะเดินมาถึงจุดหมายที่
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชด�าเนิน ในวันที่ 7 มีนาคม 2564 (มติชน, 2564ง)