Page 282 - kpiebook67020
P. 282

281




           ปกติกระบวนการยุติธรรมก็เป็นเทคนิคที่เข้าถึงยากอยู่แล้วพอเป็นพื้นที่ที่เกิดเหตุการณ์
           ที่ผิดปกติมาก ๆ ไม่ใช่อาชญากรรมปกติแต่เป็นอาชญากรรมที่ไม่ได้อยู่บนท้องถนน

           แต่เกิดขึ้นในลักษณะพิเศษ ความรู้สึกของประชาชนก็จะยิ่งไม่เข้าใจว่า เหตุใด
           ทหารถึงท�าแบบนั้นได้ แต่เพราะกระบวนการยุติธรรมเรื่องที่เป็นเทคนิคอยู่แล้ว

           บวกกับความรู้สึกของประชาชนที่ไม่พอใจรัฐอยู่เป็นทุน ท�าให้เกิดเป็นทัศนคติที่รู้สึก
           ว่าเข้าไม่ถึง เหลื่อมล�้า ไม่ไว้ใจ ไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมนี่เป็นกระบวนการ

           ยุติธรรมที่เข้าถึงยากเนื่องจากเข้าถึงยากและไม่มีความเชื่อมั่นเป็นต้นทุน ดังนั้น
           การสร้างกระบวนการรับรู้ และการสร้างความเข้าใจในค�าจ�ากัดความว่า “ความยุติธรรม”

           พื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ร่วมกัน

                  ข้อเสนอแนะที่ 2: การท�างานขับเคลื่อนเพื่อลดความเหลื่อมล�้า

           ในกระบวนการยุติธรรมกับภาคประชาสังคมในพื้นที่ ในระยะปัจจุบัน ภาคประชาสังคม
           หรือ CSO ที่ท�างานในด้านกระบวนการยุติธรรมในระยะหลังปรับตัวมากขึ้นในการที่จะ

           ท�าเรื่องติดตามเคสแต่ละเคส ในการลงไปคุยกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งตรงนี้
           ท�าให้ฝ่ายรัฐต้องปรับตัวแต่ว่าก็ยังคงมีอยู่บ้างในประเด็นการสร้างความเหลื่อมล�้า

           ในกระบวนการยุติธรรม ปฏิเสธไม่ได้ว่า ตั้งแต่ภาคประชาสังคมเข้าไปจับในประเด็น
           เรื่องความยุติธรรมความถูกกระท�าที่ไม่เป็นธรรม ท�าให้ฝ่ายรัฐต้องระวังมากขึ้น

           ซึ่งเป็นข้อดี แต่ส�าหรับใจกลางปัญหาอยู่ที่การใช้กฎหมายพิเศษ ซึ่งมันเป็นปัญหา
           เพราะว่าการใช้กฎหมายพิเศษถ้ามองโดยตรงฝ่ายรัฐมีความหมิ่นเหม่ต่อการละเมิด

           สิทธิมนุษยชนแน่นอน เพราะว่ากฎหมายพิเศษมันให้อ�านาจ ถ้าจะไม่ใช้กฎหมายพิเศษ
           มันก็ต้องคิดว่าต้องใช้กฎหมายอะไรเพราะว่ากฎหมายพิเศษมันไปตัดตอนเรื่อง

           การเชื่อมต่อเพื่อไม่ให้เกิดเหตุต่อไปอีก กฎหมายพิเศษอาจจะช่วยลดขั้นตอนที่ไม่ท�า
           ให้เกิดเหตุต่อเพราะสามารถใช้หรือจับกุมได้เลย ถ้าเป็นกฎหมายปกติมันต้องใช้เวลา
   277   278   279   280   281   282   283   284   285   286   287