Page 278 - kpiebook67020
P. 278
277
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองเมื่อปี ค.ศ. 1966
คือการยอมรับสิทธิโดยธรรมชาติของทุกคนคือสิทธินี้ทุกคน “จะได้รับการคุ้มครอง
ตามกฎหมาย” และ “ไม่มีใครถูกพรากชีวิตไปโดยพลการ”
3) สร้างกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์เพื่อการเปลี่ยนผ่านอย่างยั่งยืน
ในวงการของกระบวนการยุติธรรมมีความพยายามปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์
การอ�านวยความยุติธรรมภายใต้แนวคิดและหลักการเรื่องความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์
หรือกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) ซึ่งเป็นการอ�านวย
ความยุติธรรมที่มีการค�านึงถึงเหยื่อหรือผู้เสียหายและมีการดึงชุมชนเข้ามามีส่วนรับรู้
และร่วมกันแก้ไขเยียวยาผู้เสียหาย หรือเหยื่อโดยมีวัตถุประสงค์หลักที่ต้องการฟื้นฟู
ความเสียหายหรือผลกระทบจากการกระท�าที่ท�าให้ทุกฝ่ายได้รับผลร้ายซึ่งรวมทั้ง
ผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมผู้กระท�าผิดและชุมชน โดยมุ่งเน้นให้เกิดการชดใช้
ความเสียหายที่เกิดขึ้น การแก้ไขฟื้นฟู และน�าทุกฝ่ายกลับเข้าสู่สังคมและอยู่ร่วมกัน
อย่างสงบสุขและสมานฉันท์ (จุฑารัตน์ เอื้ออ�านวย, 2548) การด�าเนินภารกิจของ
กระทรวงยุติธรรมอาจเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ไม่มากนัก
เพราะส่วนใหญ่กระบวนการยุติธรรมกระแสหลักจะเกี่ยวข้องกับต�ารวจ อัยการ
และศาลมากกว่า ด้วยเหตุนี้เอง กระทรวงยุติธรรมของไทยจึงต้องมีการอาศัย
ความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ซึ่งเป็นกระบวนทัศน์ในกระบวนการยุติธรรมแบบใหม่
เพื่อน�ากระบวนการและแนวทางการปฏิบัติมาใช้มักตอบสนองความต้องการของ
ประชาชน ผู้รับบริการหรือผู้เสียหายในกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้ยังสอดคล้องกับ
บริบทการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เห็นได้ชัดเจน ทั้งในเรื่องการเยียวยาและการให้
ความส�าคัญแก่ผู้เสียหายและเข้าถึงชุมชนที่ตกเป็นเหยื่อมากกว่าการให้คุณค่าในเรื่อง
ของการลงโทษผู้กระท�าผิด โดยกระบวนการทั้งหลายเหล่านี้จะท�าให้มีการยกระดับ