Page 280 - kpiebook67020
P. 280
279
2. สิ่งที่แตกร้าว สะเทือนใจได้รับการเยียวยา
3. ได้บรรลุถึงการแสดงความรับผิดชอบและส�านึกผิดต่อการกระท�า
ที่เกิดขึ้น
4. โยงยึดผูกพันสิ่งที่แตกแยกให้กลับคืนสมานฉันท์กันอีกครั้งและ
สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนในการป้องกันอาชญากรรมที่อาจเกิดขึ้น
4) การใช้กระบวนการพูดคุยสมานฉันท์ในการขับเคลื่อนทุกระดับ
กระบวนการพูดคุยสมานฉันท์สามารถท�าได้ทุกระดับในจังหวัดชายแดนใต้
และจ�าเป็นต้องมีกระบวนการสร้างความไว้วางใจทุกระดับ โดยเฉพาะการท�าความเข้าใจ
กับวัฒนธรรมและมายาคติแต่ละมิติในพื้นที่ ล้วนมีส่วนเกื้อกูลต่อความขัดแย้งและ
ความรุนแรงทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น หากทุกคนเชื่อว่าความขัดแย้งและความรุนแรง
เป็นธรรมชาติและธรรมชาตินั้นเปลี่ยนแปลงมิได้ ก็หมายความว่า ความรุนแรง
ไม่มีวันหมดสิ้นไปและหากเชื่อว่าความขัดแย้งและความรุนแรงเป็นเรื่องเดียวกัน
จะแก้ไขได้ด้วยความรุนแรงเท่านั้น ความรุนแรงก็ขจัดไม่ได้เช่นกัน ถ้าคนกลุ่มหนึ่ง
เชื่อว่าตนต่างจากคนกลุ่มอื่นและเหนือกว่าหรือถูกต้องกว่าพวกอื่น โอกาสขัดแย้ง
และใช้ความรุนแรงก็ยิ่งง่ายขึ้น
การศึกษาและแปรเปลี่ยนวัฒนธรรมบางอย่างเพื่อออกจากความขัดแย้ง
รุนแรง คือ ต้องเข้าใจสภาพบริบทสังคม บทบาทการท�างานของวัฒนธรรมและมายาคติ
และกลไกต่าง ๆ ในสังคม สังคมในพื้นที่ต้องเชื่อและตระหนักจริง ๆ ว่าเป็นปัญหา
และต้องเปลี่ยนแปลง มิใช่เราคิดแล้วต้องการ โดยคิดว่าเราถูก แต่การเข้าใจคุณค่า
วิถีชีวิตที่ฝังลึกเป็นร้อย ๆ ปี มีความต่างมากมาย มีตั้งแต่เชื่อในวัฒนธรรมอ�านาจ
รับและส่งต่อวัฒนธรรมมาแต่วัยเยาว์ อาจไม่ใช่สิ่งที่เราคิดเราเชื่อ แต่เราเคยชิน