Page 279 - kpiebook67020
P. 279

278  การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต




        ความส�าคัญของผู้เสียหายในกระบวนการยุติธรรม เป็นการเรียกร้องให้ผู้กระท�า
        ความผิดรับผิดชอบต่อความเสียหายที่ได้กระท�าขึ้นเหล่านั้น การน�ากระบวนทัศน์

        ที่เป็นกระบวนการความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์จึงต้องมีการสร้างความตระหนักต่อ
        ผลกระทบที่เกิดจากการกระท�าผิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีต่อผู้เสียหาย โดยหน่วยงาน

        ในกระทรวงยุติธรรมที่เกี่ยวข้องต้องมีการบูรณาการร่วมกันสร้างแผนความรับผิดชอบ
        และข้อตกลงในลักษณะป้องกันหรือเกิดทางเลือกในการแก้ไขปัญหาเพื่อน�าไปสู่

        ความสมานฉันท์ของสังคมอย่างแท้จริง

                จุฑารัตน์ เอื้ออ�านวย (2550) ได้อ้างถึงทัศนะของ Susan Sharpe ว่า

        กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์เป็นแนวความคิดที่มีรากฐานแตกต่างจาก
        การอ�านวยความยุติธรรมเชิงแก้แค้นทดแทนโดยมุ่งให้ความส�าคัญกับสิ่งซึ่งจ�าเป็นต้อง

        ได้รับการการเยียวยา (ส�าหรับเหยื่ออาชญากรรม) สิ่งซึ่งควรแก้ไขปรับปรุง (ส�าหรับ
        ผู้กระท�าความผิด) และสิ่งซึ่งควรเรียนรู้เมื่ออาชญากรรมเกิดขึ้นในสังคม (ส�าหรับชุมชน)

        แนวคิดนี้ท�าให้เหยื่ออาชญากรรมเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเกี่ยวกับอันตราย
        และการชดใช้เยียวยา กล่าวคือเหยื่ออาชญากรรมเป็นผู้ก�าหนดว่าอันตรายที่ตนได้รับ

        คืออะไรและการชดใช้เยียวยา ส�าหรับตนจะมีขนาดเท่าใด ขณะที่ชุมชนสามารถเข้ามี
        ส่วนเกี่ยวข้องในกิจกรรมการเรียกร้องความรับผิดชอบจากผู้กระท�าผิดให้การสนับสนุน

        เหยื่ออาชญากรรม และประกันโอกาสในการแก้ไขฟื้นฟูตนเองของผู้กระท�าผิด นอกจากนี้
        กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ได้สะท้อนความเชื่อที่ว่าความยุติธรรมเป็นสิ่งที่

        เข้าถึงได้และบรรลุถึงได้มากที่สุด หากสามารถด�าเนินการบรรลุเป้าหมายที่ว่า

                  1.   มีการเห็นพ้องต้องกันระหว่างเหยื่ออาชญากรรม-ผู้กระท�าผิด-ชุมชน

                      ในเวทีที่จัดให้ทุกฝ่ายได้แสดงการมีส่วนร่วมกันต่ออาชญากรรม

                      ที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง
   274   275   276   277   278   279   280   281   282   283   284