Page 296 - kpiebook67020
P. 296

295




                   ที่จะน�าไปสู่การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์

                   ทรงเป็นประมุข รัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคสอง ให้ศาลรัฐธรรมนูญ
                   มีอ�านาจสั่งการให้เลิกการกระท�าดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคตได้”


                          “อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงวินิจฉัยว่า การกระท�าของผู้ถูกร้อง
                   ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง
                   ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ

                   มาตรา 49 วรรคหนึ่ง และสั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 รวมทั้งกลุ่ม

                   องค์กรเครือข่ายเลิกกระท�าการดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตด้วย
                   ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคสอง” (ศาลรัฐธรรมนูญ, 2564ก)


                  ผลจากค�าวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ได้จุดชนวนการชุมนุมโดยกลุ่ม
           “ไม่เอาสมบูรณาญาสิทธิราชย์” ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2564 นัดหมายที่แยกปทุมวัน

           เพื่อแสดงจุดยืนต่อต้านสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก่อนที่จะเคลื่อนขบวนไปยื่นหนังสือ
           ต่อสถานทูตเยอรมนีประจ�าประเทศไทย โดยมีรายงานว่า ระหว่างเคลื่อนขบวนนั้น

           มีผู้ชุมนุม 1 รายได้รับบาดเจ็บจากการถูกยิงบนถนนอังรีดูนังต์ (BBC Thai, 2564ข)
           และอีกหนึ่งเหตุการณ์ทางการเมืองที่ส�าคัญ คือ การที่ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา

           ลงมติไม่รับหลักการร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่เรียกว่าฉบับ “รื้อระบอบประยุทธ์”
           ที่เสนอโดยกลุ่ม Re-Solution โดยมีตัวแทนน�าเสนอ คือ นายปิยบุตร แสงกนกกุล

           และนายพริษฐ์ วัชรสินธุ์ หลังจากใช้เวลาอภิปรายกว่า 16 ชั่วโมง ผลการลงมติ
           ปรากฏว่า รับหลักการ 206 คะแนน (ส.ส. 203 เสียง และ ส.ว. 33 เสียง) ไม่รับหลักการ

           473 คะแนน (ส.ส. 249 เสียง และ ส.ว. 224 เสียง) และงดออกเสียง 6 คะแนน
           (ส.ส. 3 เสียง และ ส.ว. 3 เสียง) (BBC Thai, 2564ก) เป็นอีกครั้งหนึ่งที่การเสนอแก้ไข

           เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยภาคประชาชนถูกตีตกในรัฐสภา
   291   292   293   294   295   296   297   298   299   300   301