Page 295 - kpiebook67020
P. 295
294 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
ในวันที่ 19 กันยายน 2564 กลุ่มผู้ชุมนุมคาร์ม็อบ น�าโดยนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
และนายสมบัติ บุญงามอนงค์ ได้จัดกิจกรรม “ขับรถยนต์ชนรถถัง” ร�าลึกการรัฐประหาร
19 กันยายน 2549 โดยนัดหมายที่แยกอโศกมนตรี ก่อนที่จะเคลื่อนขบวนไปสิ้นสุด
การชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (The Standard, 2564ก) และตลอดเดือน
สิงหาคมถึงกันยายนนั้น ได้เกิดกลุ่มม็อบเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกกลุ่มหนึ่งคือ
กลุ่ม “ทะลุแก๊ส” ซึ่งรวมตัวกันครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2564 ซึ่งเป็นวันที่
นายธนัตถ์ ธนากิจอ�านวย หรือลูกนัท ถูกเจ้าหน้าที่ต�ารวจยิงเข้าบริเวณดวงตา
จึงสร้างความเจ็บแค้นให้กับกลุ่มทะลุแก๊ส จึงนัดหมายกันชุมนุมที่แยกดินแดงทุกวัน
และมีการปะทะกับเจ้าหน้าที่ต�ารวจควบคุมฝูงชน (ไทยรัฐออนไลน์, 2564ก)
แต่เหตุการณ์ที่เป็นจุดเปลี่ยนส�าคัญต่อการเคลื่อนไหวของม็อบการเมือง
คนรุ่นใหม่ คือ ค�าวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 ในคดีที่
นายณฐพร โตประยูร ยื่นฟ้องนายอานนท์ น�าภา, นายภาณุพงศ์ จาดนอก, นางสาว
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล, นายพริษฐ์ ชีวารักษ์, นางสาวจุฑาทิพย์ ศิริขันธ์, นางสาว
สิริพัชระ จึงธีรพานิช, นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข, และนางสาวอาทิตยา พรพรม
ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามมาตรา 49 ของรัฐธรรมนูญ โดยศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า
“การใช้สิทธิหรือเสรีภาพของผู้ถูกร้องที่ 1 (นายอานนท์ น�าภา)
ที่ 2 (นายภาณุพงศ์ จาดนอก) และที่ 3 (นางสาวปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล)
เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยไม่สุจริต เป็นการละเมิดกฎหมาย มีเหตุจูงใจ
เพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง แม้เหตุการณ์ตาม
ค�าร้องผ่านพ้นไปแล้ว แต่หากยังคงให้ผู้ถูกร้องที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 รวมทั้ง
กลุ่มในลักษณะองค์กรเครือข่ายกระท�าดังกล่าวต่อไป ย่อมไม่ไกลเกินเหตุ